รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03575


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mangifera sylvatica Roxb.

สกุล

Mangifera L.

สปีชีส์

sylvatica

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
มะม่วงป่า
ชื่อท้องถิ่น
จ๋องบั้วกู่ (ม้ง)/ แผละเส้ดโย (ลั้วะ)/ มะโมงเดี๋ยง (เมี่ยน)/ หมากม่วงป่า มะม่วงเทพรส (ราชบุรี)/ มะม่วงละว้า, มะม่วงละโว้, มะม่วงขี้ใต้, มะม่วงกะล่อน (ประจวบคีรีขันธ์)/ มะม่วงราวา ราวอ (นราธิวาส)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
ANACARDIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง ลำต้นสูงประมาณ 20-25 ม. ลำต้นกลม และตั้งตรง
ลำต้นแตกกิ่งเป็นทรงพุ่มบริเวณปลายลำต้น จำนวนกิ่งปานกลาง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกแตกเป็นร่องสี่เหลี่ยมตามแนวยาว เปลือกลำต้นด้านในมีสีเหลือง แต่เมื่อถากทิ้งให้สัมผัสอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำ ส่วนเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง 

ใบ ใบมะม่วงป่า ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงออกสลับกันตามกิ่ง ใบมีก้านใบสีเขียว ยาวประมาณ 3-5 ซม. ใบมีรูปหอก ฐานใบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบเหนียว มีสีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขอบใบเรียบ ขนาดใบกว้างประมาณ 3.5-5 ซม. ยาวประมาณ 4.5-20 ซม.ยอดอ่อนหรือใบอ่อนมีสีม่วงอมแดง

ดอก ออกเป็นช่อแขนง แทงออกบริเวณยอดกิ่ง แต่ละช่อดอกประกอบด้วยช่อดอกย่อย และแต่ละช่อดอกย่อยมีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกย่อยมีลักษณะกลม มีสีเหลืองอ่อนหรือสีครีม ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง จำนวน 5 กลีบ และกลีบดอก จำนวน 5 กลีบ ภายในมีเกสรตัวผู้ 5 อัน เมื่อดอกบานจะส่งกลิ่นหอมอบอวน ทั้งนี้ ดอกย่อยมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศ และไม่สมบูรณ์เพศ

ผล ผลมะม่วงป่า มีรูปทรงกลม ขนาดผลประมาณ 2.5-3.0 ซม. ยาวประมาณ 2.5-3.2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกค่อยเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง และสุกจัดเป็นสีเหลืองทั่วผล พร้อมส่งกลิ่นหอม เปลือกผลบาง เนื้อผลเมื่อสุกมีสีเหลือง และค่อนข้างบาง 

เมล็ด เมล็ดมีขนาดใหญ่ มีลักษณะกลม และค่อนข้างแบน เปลือกเมล็ดแข็ง และเป็นร่องตามแนวตั้งทั่วเปลือก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เป็นมะม่วงพันธุ์ดั้งเดิมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

การกระจายพันธุ์

พบได้ในพม่า จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา รวมถึงประเทศไทย พบแพร่กระจายตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบชื้นหรือป่าพรุ ซึ่งลักษณะลำต้น ใบ และผลจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่งและเสียบยอด

ระยะเวลาการติดดอก
ธันวาคม
ระยะเวลาการติดผล
กุมภาพันธ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

1. ผลสุกมะม่วงป่ามีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองทั้งผล เปลือกผล และเนื้อผลค่อนข้างบาง แต่มีรสหวาน และมีกลิ่นหอมมาก จึงใช้รับประทานเป็นผลไม้
2. ผลดิบมะม่วงป่า นิยมเก็บสอยมารับประทานจิ้มกับพริกเกลือ เพราะมีกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยวพอเหมาะ และมีความกรอบ นอกจากนั้น ชาวอีสานยังนิยมนำผลดิบมาทำน้ำพริก หรือตำใส่กะปอมหรือแย้ที่เรียกว่า ก้อยแย้หรือก้อยกะปอม เพราะให้กลิ่นหอมต่างจากมะม่วงชนิดอื่น
3. ผลดิบมะม่วงป่าที่เปลือกเมล็ดยังไม่เข้าแกนหรือแข็ง นิยมใช้ดองเกลือเป็นมะม่วงดอง ซึ่งมีรสอร่อยมากกว่ามะม่วงดองชนิดอื่นๆ
4. ผลสุกมะม่วงป่านำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ไวน์ ไอศกรีม และมะม่วงกวน เป็นต้น
5. ยอดอ่อนหรือใบอ่อนใช้รับประทานสดหรือรับประทานจิ้มน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมเฝื่อนเล็กน้อย
6. เนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้วงนอกมีสีเหลืองอมน้ำตาลเล็กน้อย เนื้อไม้วงในสุดมีด่างสีน้ำตาลอมดำ สามารถใช้แปรรูปเป็นฝาบ้าน วงกบ ไม้ฝ้า เป็นต้น รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ
7. เนื้อไม้ท่อนใหญ่ใช้เผาถ่าน หรือผ่าเป็นฝืน ส่วนกิ่งใช้เป็นฝืนหุงหาอาหารเช่นกัน
8. เปลือกใช้ต้มย้อมผ้า ด้วยการสับเอาเฉพาะเปลือกด้านใน นำมาต้มน้ำในอัตราส่วนเปลือกมะม่วงป่ากับน้ำที่ 1:2 พร้อมใส่สารส้มเป็นสารช่วยย้อม หากย้อมผ้า 1 กิโลกรัม จะใช้เปลือกมะม่วงป่าประมาณ 15 กิโลกรัม ผ้าย้อมที่ได้มีสีน้ำตาลอ่อน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

Puechkaset.com. 2560. “มะม่วงป่า ประโยชน์ และสรรพคุณมะม่วงป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://puechkaset.com/มะม่วงป่า/ (21 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Mangifera sylvatica Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-1301151 (21 เมษายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้