รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03577


ชื่อวิทยาศาสตร์

Manihot esculenta Crantz

สกุล

Manihot Mill.

สปีชีส์

esculenta

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Manihot utillisima Pohl.

Janipha aipi (Pohl) J.Presl

Janipha manihot (L.) Kunth

ชื่อไทย
มันสำปะหลัง
ชื่อท้องถิ่น
มันสำโรง สำปะหลัง (กลาง)/ มันไม้ มันตัน (ใต้) /มันหิ่ว(พังงา)/ ต้างบ้าน ต้างน้อย (เหนือ)
ชื่อสามัญ
Cassava/ Tapioca/ Manioc/ Yuca/ Mandioa
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว และเป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นตั้งตรง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-6 ซม. สีของลำต้นแตกต่างกันไปตามพันธุ์ ส่วนที่อยู่ใกล้ยอดมีสีเขียว ส่วนแก่ที่ต่ำลงมาอาจมีสีน้ำเงิน สีเหลือง หรือสีน้ำตาล ความสูงของต้น 1-5 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยพันธุ์ที่ไม่แตกกิ่ง (unbranched) ต้นจะสูง ส่วนพันธุ์ที่แตกกิ่งต้นจะสูงน้อยกว่า การแตกกิ่งของมันสำปะหลังจะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ 3 กิ่ง กิ่งที่แตกออกจากลำต้นหลักเรียกว่า กิ่งชุดแรก ส่วนกิ่งที่แตกออกจาก กิ่งชุดแรก เรียกว่า กิ่งชัดที่สอง บนลำต้นหรือกิ่งของมันสำปะหลังจะเห็นรอยหลุดร่วงของก้านใบ เรียกว่า รอยแผลใบ (leaf scar) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างก้านใบกับลำต้นหรือกิ่ง

ใบ เป็นแบบใบเดี่ยว การเกิดของใบจะหมุนเวียนรอบลำต้น มีการจัดเรียงตัวค่อนข้างคงที่แน่นอน ต่อระหว่างลำต้นหรือกิ่งกับตัวแผ่นใบ ก้านใบอาจมีสีเขียวหรือสีแดง ตัวใบหรือแผ่นใบ จะเว้าเป็นหยักลึกเป็นแฉก ที่โคนก้านใบติดกับลำต้นมีหูใบ (stipule)

ดอก มีช่อดอกเป็นแบบ panicle คือมีดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละดอกในช่อเดียวกัน ช่อดอกจะเกิดตรงปลายยอดของลำต้นหรือกิ่ง หรืออาจเกิดตรงรอยต่อที่เกิดการแตกกิ่ง การบานของดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียจะบานในเวลา 11.30-12.30 น.

ผล หลังการผสมเกสรแล้ว รังไข่ก็จะเจริญเติบโตขยายใหญ่กลายเป็นผลแบบ capsule ขนาดโตเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ยาว 1-1.5 ซม.  ภายในมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปร่างยาวรี มีสีน้ำตาล และมีลายดำ เมื่อแก่จะแตก และดีดเมล็ดกระเด็นออกไป

ราก มันสำปะหลัง มีราก 2 ชนิด คือ รากจริงเป็นแบบรากฝอย และรากสะสม อาหาร ที่เรียกกันทั่วไปว่า หัว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เป็นพืชดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองในเขตร้อนของทวีปอเมริกาตอนกลาง และทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้

การกระจายพันธุ์

ประมาณปี พ.ศ. 2329-2383 คาดว่าคงมีผู้นำเข้ามาจากมาลายูเข้ามาปลูกทางภาคใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ปักลงในดิน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ,พืชเศรษฐกิจ

มันสำปะหลังเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ยอดใบจนถึงราก (หัวมัน)

-หัว นำมา ต้ม นึ่ง ย่าง อบ เชื่อม เป็นอาหารชนิดต่าง ๆ

-ใบ นำมาต้มจิ้มน้ำพริก

-หัวสด กากที่เหลือจากการทำแป้ง เปลือกของหัวใบสด ตากแห้งป่นผสมเป็นอาหารสัตว์

-ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรมอาหาร  อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่อาหาร และอุตสาหกรรมพลังงาน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2558. “มันสำปะหลัง : ลักษณะทางพฤกษศาสตร์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www3.rdi.ku.ac.th/?p=17856 (19 ตุลาคม 2559)

The Plant List. 2013. “Manihot esculenta Crantz.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-119804 (19 ตุลาคม 2559)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้