รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03582


ชื่อวิทยาศาสตร์

Manilkara zapota (L.) P.Royen 'Makok'

สกุล

Manilkara Adans.

สปีชีส์

zapota

Variety

Makok

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
ละมุดมะกอก
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Spodilla Makok
ชื่อวงศ์
SAPOTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพันธุ์จ์ากต่า่งประเทศที่นิยมปลูกกันมาก โดยเฉพาะการปลูกเพื่อการค้า

ต้น: เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น ลำต้นมีกิ่ง และใบมาก จนแลดูเป็นทรงหนาทึบ กิ่งมีลักษณะเหนียว ไม่หักง่าย ลำต้น กิ่ง และใบ เมื่อมีแผลจะมีนํ้ายางสีขาวไหลออกมา ส่วนเปลือกลำต้นยังเล็กมีสีน้ำตาล เมื่อต้นโตเต็มที่จะมีสีเทา

ใบ: ใบยาวรี หลังใบมีสีเขียวเข้ม เป็นมัน

ดอก: เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกจะออกใกล้ปลายกิ่งตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1 ซม. ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 2 ชั้น แต่ละชั้นมี 3 กลีบ ถัดมาเป็นกลีบดอกจำนวน 12 กลีบ ด้านในมีเกสรตัวผู้ 6 อัน และมีรังไข่อยู่เหนือกลีบดอก

ผล: ผลอ่อนมีลักษณะกลม มีเม็ดตุ่มสีนํ้าตาลบริเวณผิว แต่เมื่อผลใกล้สุก ตุ่มนี้จะค่อยๆ หายไป เมื่อผลแก่เต็มที่ ผลจะค่อนข้างยาวรี คล้า้ยผลมะกอก ผิวมีขุยค่อนข้า้งมาก เปลือกผลมีสีน้ำตาลอมเหลือง เปลือกบาง เนื้อแน่น ฉํ่านํ้า รสชาติหวานจัด มีกลิ่นหอม ถ้าสุกจัดจะเละ

เมล็ด: เมล็ดอยู่ชิดกันเป็นกลุ่มบริเวณตอนกลางผล แยกเป็น 1-5 แฉก ขึ้นอยู่กับจำนวนเมล็ด ผิวเมล็ดมีสีนํ้าตาลไหม้ แข็งเป็นมันเงา มีรูปร่างแบน และนูนเล็กน้อย ส่วนปลายเมล็ดมีเงี่ยงแหลมคม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ละมุดมีถิ่นกำเนิดแถบเม็กซิโก อเมริกากลาง และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก

การกระจายพันธุ์

เม็กซิโก อเมริกากลาง และหมู่เกาะอินเดียตะวันตก แล้วแพร่ขยายไปยังประเทศเขตเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

นิยมใช้กล้าพันธุ์จากการตอนกิ่ง และการเสียบยอด ไม่นิยมใช้กล้าพันธุ์จากการเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

1. ผลสุกนิยมรับประทานเป็นผลไม้ เนื้อให้รสหวาน นุ่ม บางพันธุ์มีความกรอบ
2. นํ้ายางสีขาวจากลำต้น และกิ่งใช้ทำหมากฝรั่ง
3. ผลสุกใช้ทำละมุดกระป๋องหรือละมุดอัดขวด
4. ผลสุกนำมาปอกเปลือก สับเป็นชิ้น แล้วนำมาบีบคั้นน้ำใช้ทำไวน์ละมุด
5. ผลสุกนำมาปอกเปลือก คัดแยกเอาเฉพาะเนื้อสำหรับใช้ทำแยม พาย และพุดดิ้งละมุด
6. การแปรรูปผลละมุดอีกวิธีหนึ่ง โดยการนำผลละมุดมาปอกเปลือก แล้วหั่นเป็นชิ้นๆ จากนั้น นำไปต้มกับนํ้าเชื่อม แล้วนำเนื้อละมุดที่ต้มสุกแล้วมาใส่ในขวดโหลหรือขวดแก้ว นำนํ้าเชื่อมไปต้มให้เดือดแล้วเทใส่ขวดให้ท่วมเนื้อละมุดเก็บไว้รับประทาน ต่อไป

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2549. "ละมุด." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://natres.psu.ac.th/radio/radio_article/radio48-49/48-490015.htm (6 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “ละมุด(Zapote) ประโยชน์ และการปลูกละมุด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/ละมุด/ (6 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Manilkara zapota (L.) P.Royen.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-120271 (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้