รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03603


ชื่อวิทยาศาสตร์

Maxburretia furtadoana J. Dransf.

สกุล

Maxburretia Furtado

สปีชีส์

furtadoana

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
หมากพระราหู
ชื่อท้องถิ่น
ปาล์มพระราหู(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อสามัญ
Sun Plam
ชื่อวงศ์
ARECACEAE
ลักษณะวิสัย
ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ปาล์มต้นเดี่ยว บางครั้งอาจแตกก่อได้ 3-5 ต้น เป็นปาล์มเฉพาะถิ่นที่พบบนภูเขาหินปูน เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5 ซม. สูงได้ถึง 4 ม. ไม่มีกาบใบ มีรกหุ้มลำต้นเป็นหนามแข็งสานกัน เมื่อสูงแผ่นรกจะหลุดออก 

ใบ: ใบออกเป็นวงรอบต้นและอยู่ชิดกัน ใบรูปพัด ตั้งขึ้น แผ่ออก หรือห้อยลง มี 8-12 ทาง  แผ่นใบกว้าง 80 ซม. สีเขียว ใต้ใบสีเทา ขอบใบจักลึกมากกว่าครึ่งใบ 15-30 แฉก กาบใบสั้น แยกต่ำ ขอบก้านใบมีใยเป็นหนามแหลมแข็ง สีน้ำตาล หนามยาว 8 ซม. 40-60 ซม.

ดอก: ช่อดอกแยกเพศ อยู่แยกต้น ออกระหว่างกาบใบ ช่อตั้งขึ้น ปลายโค้ง  ยาว 45 ซม. แตกกิ่งย่อย 3-5 กิ่ง ยาว 15 ซม. และแตกกิ่งแขนงย่อยจำนวนมาก

ผล: ผลกลมแกมรูปไข่ กว้าง 5-7 มม. ยาว 9 มม. เมื่อสุกสีส้มอมเหลือง  

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในระดับต่ำ เช่น ป่าดิบชื้น บนหน้าผาเขาหินปูน ตามภูเขาของภาคใต้ตอนกลาง ที่ความสูง 400-800 ม. เหนือระดับน้ำทะเล 

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ 

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ใชปลูกประดับแปลง

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

พูนศักดิ์ วัชรากร. 2548. ปาล์มและปรงในไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพมหานคร. 271 น.

ปิยะ เฉลิมกลิ่น. 2550. คู่มือ ปาล์มประดับ ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์บ้านและสวน;อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 304 น.

The Plant List. 2013. “Maxburretia furtadoana J.Dransf.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-122271 (24 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้