รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03613


ชื่อวิทยาศาสตร์

Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.

สกุล

Melastoma L.

สปีชีส์

saigonense

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Osbeckia saigonensis Kuntze

ชื่อไทย
โคลงเคลงญวน
ชื่อท้องถิ่น
โคลงเคลงขน(ปราจีนบุรี) / ม่ายะ(ตราด) / เอ็นอ้า(ปราจีนบุรี,อุบลราชธานี)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MELASTOMATACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่ม สูงได้ประมาณ 3 ม. กิ่งมีขนแข็งสีน้ำตาลแดง ขนยาวตามแผ่นใบทั้งสองด้านและใบประดับ ขนแข็งรูปดาวเป็นติ่งหนาแน่นตามฐานดอก และผล

ใบ: ใบรูปขอบขนาน ยาว 3-9 ซม. เส้นโคนใบข้างละ 1-2 เส้น ก้านใบยาวได้ถึง 2 ซม.

ดอก: ช่อดอกออกตามซอกใบที่ปลายกิ่งมี 3-5 ดอก ใบประดับยาวประมาณ 5 มม. ฐานดอกยาว 1-1.3 ซม. กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบ ยาวประมาณ 7 มม. กลีบดอก 4-5 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.5-2 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน อับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. แกนอับเรณูยาวเท่า ๆ อับเรณู วงในแกนอับเรณูไม่ยื่นยาว รังไข่ปลายมีขนแข็ง

ผล: เป็นผลเดี่ยวเกิดขึ้นจากฐานรองดอก มีรูปร่างคล้ายคนโฑ มีขนจำนวนมาก ขนมีสีเหลืองอ่อนๆ ผลเป็นสีน้ำตาลอมเขียว เมื่่อแก่จะเป็นสีม่วงเนื้อแบบเปียกเป็นสีน้ำเงินเข้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ผลแตกออกตามขวาง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในไทยพบทางภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นตามชายป่าดิบแล้ง ที่โล่งบนลานหินทราย ความสูงถึงประมาณ 200 เมตร

ถิ่นกำเนิด

เวียดนาม

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - ไทย กัมพูชา ลาว เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ปักชำ

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

น้ำต้มใบหรือน้ำคั้นจากใบ ใช้แก้โรคท้องร่วงโรคบิดและโรคระดูขาว ใช้เป็นยากลั้วคอ หรือยาบ้วนปาก เพื่อแก้เชื้อราในปากหรือลำคอ รักษาแผลไฟไหม้ ใช้ล้างแผลที่เป็นหนอง ใช้แก้โรคริดสีดวงทวาร แก้โรคโกโนเรีย ราก บำรุงธาตุ เจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงตับ ไตและเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "โคลงเคลงญวน." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=1444&words=โคลงเคลงญวน&typeword=word (8 มิถุนายน 2560)

สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. 2550. "โคลงเคลงขน." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://digital.forest.ku.ac.th/RBIO/index_.php?action=biodiversity&action2=plant&id=7 (8 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Melastoma saigonense (Kuntze) Merr.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-50269052 (8 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2017.  “Melastoma saigonense” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Melastoma+saigonense (8 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้