รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03615


ชื่อวิทยาศาสตร์

Melia azedarach L.

สกุล

Melia L.

สปีชีส์

azedarach

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Azedara speciosa Raf.

Azedarach commelinii Medik.

Azedarach deleteria Medik.

Azedarach fraxinifolia Moench

ชื่อไทย
เลี่ยน
ชื่อท้องถิ่น
เกรียน, เฮี่ยน(เหนือ) / เคี่ยน, เลี่ยนใบใหญ่(กลาง)
ชื่อสามัญ
Bastard cedar / Bead tree / Persian lilac / white cedar
ชื่อวงศ์
MELIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น สูงถึง 40 ม.  เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอมเทา

ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ 2-3 ชั้น เรียงสลับยาว 15-80 ซม. แตกแกนกลางไปทางด้านข้างอีก 3-7 คู่ แต่ละแกนมีใบย่อย 3-7 คู่  ใบย่อยรูปไข่ รูปใบหอก แกมขอบขนาน หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม โคนแหลม หรือกลม ขอบเรียบ หรือจักเป็นซี่ฟันห่างๆ

ดอก มีกลิ่นหอม สีขาว ถึงสีม่วงแดง หรือสีน้ำเงินอ่อน ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ตามซอกใบ ใบประดับเป็นเส้นด้าย ยาว 3-10 มม. กลีบเลี้ยงมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2 มม. จักเป็นพูยาวประมาณ 2 มม. พูรูปไข่ กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปขอบขนานแคบ เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นท่อ

ผล ผลสด รูปกลมแกมขอบขนาน เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1-2 ซม. ขนเกลี้ยง เมื่อแก่สีน้ำตาลออกเหลือง ผนังผลชั้นในแข็ง

เมล็ด รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.6 มม. ยาวประมาณ 3.5 มม. เรียบ สีน้ำตาล

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ในประเทศไทยพบว่า  มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในป่าทั่วไป  ยกเว้นภาคใต้ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ขึ้นอยู่ตามบริเวณไหล่เขา ริมลำห้วยที่ราบ หรือที่เป็นเนินเขาจนถึงบริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 500 เมตร

ถิ่นกำเนิด

ประเทศเขตร้อน

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ลาว เนปาล ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
ตุลาคม-ธันวาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้,พืชให้ร่มเงา

เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน ใช้ทำฟืน

ใบ ขับพยาธิตัวกลม ขับระดู ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ฝาดสมานและไล่แมลง

ดอก ฆ่าเหา แก้โรคผิวหนัง

ผล แก้โรคผิวหนัง แผลพุพองที่หัว ทาแผลพุพองจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เป็นยาฆ่าเหาหรือฆ่าแมลง 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2015. “เลี่ยน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/เลี่ยน/เลี่ยน.htm (29 มกราคม 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Bastard cedar, Bead tree - Bead Tree, Bastard Cedar, China Tree, Chinaball Tree, Persian Lilac [1].” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://eherb.hrdi.or.th  (29 มกราคม 2560)

Flora of China. “Melia azedarach.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200012507 (29 มกราคม 2560)

The Plant List. 2013. “Melia azedarach L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2505106 (29 มกราคม 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้