รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03623


ชื่อวิทยาศาสตร์

Memecylon edule Roxb.

สกุล

Memecylon L.

สปีชีส์

edule

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
พลองเหมือด
ชื่อท้องถิ่น
พลองดำ(ประจวบคีรีขันธ์) / เหมียด(สุรินทร์)
ชื่อสามัญ
Nipis Kulit/ Delek Air/ Delek Bangas/ Kaayam/ Nemaaru
ชื่อวงศ์
MELASTOMATACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้พุ่ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ความสูง 1-3 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก และเห็นชัดเจนบริเวณโคนลำต้น กิ่งอ่อนแบน หรือเป็นสี่เหลี่ยมมีร่องตามยาว 2 ร่อง กิ่งแก่กลม

ใบ: ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 2.5-6 ซม.

ดอก: ช่อดอกเป็นกระจุก มีดอกย่อย 2-8 ดอก ออกตามซอกใบหรือตามข้อที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกสีขาวอมม่วง กลีบดอก 4 กลีบ ฐานดอกรูปถ้วย สีเขียว 

ผล: ผลมีเนื้อ หนึ่งถึงหลายเมล็ด ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-0.6 ซม. เมื่อสุกสีม่วงเข้มถึงดำ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าเต็งรัง ชายป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเล จนถึงประมาณ 700 เมตร

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนของเอเซีย

การกระจายพันธุ์

การกระจายแบบดั้งเดิม: อินเดีย, อินโดจีน, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน-พฤษภาคม
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

ผลสุก ยอดอ่อน รับประทานได้

น้ำยาง จากลำต้นใช้ทาส้นเท้าเพื่อลดรอยแตก 

ลำต้น ใช้ทำด้ามเสียม ตัดแล้วเอาไปเผาไฟ จะมีน้ำเลี้ยงออกมาบริเวณรอยตัด แตะเอาน้ำเลี้ยงนั้นมาถูฟัน ทำให้เหงือกแข็งแรง
เป็นสมุนไพรบำรุงเลือด บำรุงน้ำนม โดยผสมรวมกับเหมือดโลด ยาแก้ไข้ป่า  ลำต้น มีแก่นแข็ง โค้งได้ส่วน ชาวบ้านนิยมนำไปทำแอกวัว

แก่นหรือใบ นำไปต้มให้สัตว์กินเพื่อให้ร่างกายอุดมสมบูรณ์  ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง ทำเครื่องมือทำนาและของเล่นเด็กอีสาน

ราก ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม แก้ประดง (อาการโรคผิวหนัง เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ร่วมด้วย)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2010. “เหมียดแอ่ พลองเหมือด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12099 (23 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “พลองเหมือด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2774 (23 เมษายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “พลองเหมือด.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=242 (23 เมษายน 2560)

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ. 2553. “พลองเหมือด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=search_detail&medicinal_id=316
(23 เมษายน 2560)

NParkFlora&Funna Web. 2013. “Memecylon edule Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://florafaunaweb.nparks.gov.sg/Special-Pages/plant-detail.aspx?id=3993 (23 เมษายน 2560)

The Plant List. 2013. “Memecylon edule Roxb.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-20304427 (23 เมษายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้