รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03626


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mesua ferrea L.

 

สกุล

Mesua L.

สปีชีส์

ferrea

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Mesua nagassarium (Burm. f.) Kosterm.

ชื่อไทย
บุนนาค
ชื่อท้องถิ่น
สารภีดอย (เชียงใหม่)/ ก๊าก่อ, ก้ำก่อ (แม่ฮ่องสอน)/ ปะนาคอ, ประนาคอ (ปัตตานี)/ นาคบุตร, นากบุต, รากบุค (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ
Iron wood/ Mesua/ Indian rose chestnut
ชื่อวงศ์
CALOPHYLLACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. เรือนยอดรูปเจดีย์ แตกกิ่งก้านสาขาขนานไปกับพื้นดิน ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตื้น เปลือกในสีขาวเหลือง

ใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใบหอกหรือรูปขนานแกมรูปหอก กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-12 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบยาวคล้ายหาง เนื้อใบแข็งและหนา ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีชมพูม่วง ก้านใบยาว 0.6-1.0 ซม. หลังใบสีเขียว ผิวเรียบ ใต้ท้องใบสีเขียวอ่อน มีนวล ผิวใบเรียบ เส้นใบจำนวนมากและถี่

ดอก ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ดอกออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่และมีกลิ่นหอมอ่อน กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 4 กลีบ แยกกัน มีขนาดใหญ่ 2 กลีบ เล็ก 2 กลีบ กลีบกลมโค้งงอ กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน กลีบรูปไข่ แข็งและหนา ขอบเป็นริ้ว เกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูสีเหลืองสด เกสรเพศเมียอยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียสีขาวยาวพ้นเหนือเกสรเพศผู้

ผล ผลรูปไข่ เปลือกผลแข็ง กว้าง 2 ซม. ยาว 4 ซม. ปลายผลโค้งแหลม กลีบเลี้ยงหุ้มเป็นกาบหุ้มผล 4 กาบ

เมล็ด มี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบอยู่ประปรายในป่าดิบชื้นและป่าดงดิบแล้งทางภาคเหนือ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 20-700 ม.

ถิ่นกำเนิด

เอ้ซียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

อินเดีย ศรีลังกา อินโดจีน พม่า ไทย คาบสมุทรมาเลเซีย และสิงค์โปร์

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
มีนาคม-กรกฎาคม
ระยะเวลาการติดผล
กรกฎาคม-กันยายน
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชวัสดุ,พืชใช้เนื้อไม้

ยอด ยอดอ่อนสีชมพูอ่อนมีรสเปรี้ยว อมฝาด นิยมนำมาเป็นผักจิ้ม

ราก ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง

เปลือก แก้ฟกช้ำ

แก่น แก้ลักปิดลักเปิด บำรุงโลหิต

ดอก มีกลิ่นหอมเย็น รสขมเล็กน้อย เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุ และขับลม แก้ลมกองละเอียด วิงเวียน หน้ามืดตาลาย

เกสร เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงโลหิต

ไม้ ใช้สร้างบ้านเรือน เครื่องเรือน

เมล็ด สกัดเป็นน้ำมันใช้จุดตะเกียง ห้น้ำมันเป็นยาทาถูนวดแก้ปวดข้อ ทาแก้บาดแผลเล็กๆน้อยๆแก้ผื่น คัน และแก้หิด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “บุนนาค.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2733 (8 มิถุนายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “บุนนาค.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=67 (8 มิถุนายน 2560)

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

The Plant List. 2013. “Mesua ferrea L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-7801420 (8 มิถุนายน 2560)

 

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้