รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03635


ชื่อวิทยาศาสตร์

Micromelum minutum Wight & Arn.

สกุล

Micromelum Blume

สปีชีส์

minutum 

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Glycosmis subvelutina F.Muell.

ชื่อไทย
หัสคุณ
ชื่อท้องถิ่น
กะม่วง(ยะลา) / กาจับลัก(กลาง,เหนือ) / คอมขน, สามโซก(เชียงใหม่) / จี้ปุกตัวผู้, จี้ย้อย,มองคอง, หญ้าสาบฮิ้น(เหนือ) / ลิ้นชี่, ฉี้(จันทบุรี) / ชะมุย(ชุมพร) / ดอกสมัด, สะแบก(อุบลราชธานี) / เพี้ยฟานดง, สมัดดง, สมัดต้น, สมัดใหญ่(เลย) / มรุยช้าง(ตรัง) / มุยขาว(ประจวบคีรีขันธ์) / ลำผีพ่าย(ตรัง) / สมุย(สุราษฎร์ธานี) / สมุยช้าง, หมุยช้าง(ยะลา) / สาบแร้งสาบกา(กทม.,สุราษฎร์ธานี) / หมอน้อย(กทม.,อุตรดิตถ์) / หมุยขน(นครศรีธรรมราช) / หวด(ลำปาง)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
RUTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 7-12 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นๆสีเทา

ใบ: ใบประกอบขนนก เรียงแบบเวียน ใบย่อยเรียงสลับ มีใบย่อย 7-15 ใบ รูปไข่ รูปรี หรือรูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 3-7 ซม. เนื้อใบบาง มีต่อมน้ำมันเล็กๆ ผิวใบด้านบนเกือบเรียบหรือมีขนสั้นๆ ด้านล่างมีขนบางๆ ใบมีกลิ่นหอมเหมือนการบูร รสหอมร้อน

ดอก: ช่อดอกแบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือสีขาวแกมเหลือง 

ผล: ผลรูปทรงรี ผิวใส ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวงโต ผลกลมสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม รูปกระสวย หรือรูปไข่ มีขนาดเล็ก เมื่อสุกมีสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบตามป่าดงดิบเขา ป่าโปร่งทั่วไป

ถิ่นกำเนิด

เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออก - ศรีลังกา นิโคบาร์และอันดามัน พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี ออสเตรเลีย และแปซิฟิก

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

เปลือกต้น มีรสร้อน มีสรรพคุณแก้โลหิตในลำคอ และลำไส้ให้กระจาย 

ใบ มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน มีสรรรพคุณแก้ลมอันเสียดแทง ขับลม ยอกในข้อ แก้ไข้อันผอมเหลือง และหืดไอ นำมาตำทาแก้คัน พอกประคบหรืออบไอน้ำ แก้ผื่นคันตามผิวหนัง กระจายเลือดลม ให้เดินสะดวก แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต 

ใบและเปลือก เป็นยารมรักษาริดสีดวงจมูก (เมื่อโดนละอองยาจะร้อนมากจนแสบจมูก) กระพี้ มีรสร้อน แก้โลหิตในลำไส้ 

ดอก มีกลิ่นหอม รสร้อน ฆ่าเชื้อโรค แผลเรื้อรัง มีสรรพคุณแก้เสมหะให้ตก ขับเสมหะลงสู่คูทวาร 

ผล มีรสเผ็ดร้อน แก้คุณอันกระทำด้วยผมให้ตกเสีย เป็นยาถ่าย 

ทั้งต้น บำรุงน้ำดี

ราก ผสมรากปลาไหลเผือกฝนน้ำ ซาวข้าวกิน รักษานิ่วในไต

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “หัสคุณ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2823 (9 มิถุนายน 2560)

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “สมัดน้อย.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=114 (9 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Micromelum minutum Wight & Arn.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2509967 (9 มิถุนายน 2560)

Useful Tropical Plants. 2017.  “Micromelum minutum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Micromelum+minutum (9 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้