รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03642


ชื่อวิทยาศาสตร์

Microsorum punctatum (L.) Copel. 'Serrated Margin'

สกุล

Microsorum Link

สปีชีส์

punctatum

Variety

Serrated Margin

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
เฟินเขากวางขอบจัก/ เฟินใบเลื่อย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
POLYPODIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้อิงอาศัย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: เฟินอิงอาศัย หรือขึ้นบนหิน เหง้าทอดนอน สีน้ำตาลเข้ม มีนวล เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-7 มม. เกล็ดสีน้ำตาล รูปขอบขนานแกมรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม. ขอบจักซี่ฟัน 

ใบ: ใบรูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ยาว 20-80 ซม. โคนสอบ แผ่ออกเป็นครีบบนก้านใบ ขอบเป็นจักเป็นเส้น คล้ายหยักฟันเลื่อย 

สปอร์: กลุ่มอับสปอร์เรียงกระจัดกระจายทั่วทั้งแผ่นใบด้านล่างหรือครึ่งหนึ่งของแผ่นใบด้านปลาย ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามที่โล่งหรือรำไร พบทั่วประเทศตามป่าระดับต่ำ ในสภาพพื้นที่ค่อนข้างแห้ง ได้รับแสงรำไร โดยเลื้อยเกาะหินหรือต้นไม้ ความสูงถึงประมาณ 900 เมตร 

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อนทั่วไป

การกระจายพันธุ์

พบในแอฟริกา เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก และออสเตรเลีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ใช้สปอร์

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสถานที่

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Microsorum punctatum (L.) Copel.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=34332 (9 มิถุนายน 2560)

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2559. "กระปรอกสิงห์." [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=398&words=กระปรอกสิงห์&typeword=word (9 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Microsorum punctatum (L.) Copel.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-26601760 (9 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้