รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03653


ชื่อวิทยาศาสตร์

Millingtonia hortensis L.f.

สกุล

Millingtonia L.f.

สปีชีส์

hortensis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Bignonia azedarachta König & Sims

Bignonia cicutaria K.D.Koenig ex Mart.

Bignonia hortensis (L.f.) Oken

Bignonia suberosa Roxb.

Millingtonia dubiosa Span.

ชื่อไทย
ปีบ, กาซะลอง
ชื่อท้องถิ่น
กาซะลอง(ยะลา,เหนือ) / กาดสะลอง(เหนือ)
ชื่อสามัญ
Cork tree
ชื่อวงศ์
BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้นอย่างไม่เป็นระเบียบไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งก้านมักจะย้อยลง

ใบ ประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ช่อแขนงด้านข้างมี 3-5 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยแขนงละ 2-4 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักมนหรือเว้าเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้าง 2-3 ซม. ยาว 4-8 ซม. ใบอ่อนผิวใบด้านล่างจะมีขนอ่อนนุ่ม เมื่อแก่ผิวใบเรียบ เส้นแขนงใบข้างละ 3-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-16 มม.

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกออกตามปลายกิ่ง ช่อดอกขนาดใหญ่ยาว 10-35 ซม. ดอกสีขาวมีขน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็กโคนติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 2-4 มม. ฐานกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอดรูปกรวยแคบ ปลายแยกออกเป็น 4 แฉก มี 1 กลีบที่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ยาว 1-1.5 ซม. หลอดยาว 6-9 ซม.ผิวด้านในมีขนปกคลุม ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4 ซม. มีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้ 4 อัน ยาวเลยจากกลีบดอกเล็กน้อย

ผล เป็นฝักแบนและตรง สีน้ำตาล หัวท้ายแหลม กว้าง 1.5-2 ซม.ยาว 25-30 ซม. ฝักแก่แห้งแตกตามแนวตะเข็บ

เมล็ด แบนมีปีกสีขาวบาง จำนวนมาก ขนาดเมล็ดรวมปีก กว้าง 1.3-1.5 ซม. ยาว 2.5-3.5 ซม.

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณทางภาเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้พื้นเมืองของพม่าและไทย

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดหรือแยกหน่อที่แตกจากราก

ระยะเวลาการติดดอก
กันยายน-พฤศจิกายน
ระยะเวลาการติดผล
ตุลาคม-กุมภาพันธ์
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ

นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านมากเนื่องจากดอกมีกลิ่นหอม ทรงพุ่มละเอียดสวยงาม

ใบอ่อน รับประทานกับลาบ

ดอกแห้ง มีรสหวานขมหอม มวนเป็นบุหรี่สูบแก้หืด แก้ริดสีดวงจมูก แก้ลม บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และบำรุงกำลัง มีสารช่วยขยายหลอดลม

ราก มีรสเฝื่อน บำรุงปอด แก้หอบ รักษาวัณโรค

เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือนต่าง ๆ

ราก บำรุงปอด แก้ไอ เหนื่อยหอบ เป็นยาบำรุงปอด รักษาวัณโรค แก้โรคหนองใน เป็นยาลม

ดอก บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง สูบแก้ริดสีดวงจมูก

ดอกแห้ง นำมามวนกับยาสูบแก้โรคหอบหืด

เปลือกต้น แก้ไอ แก้โรคกระเพาะอาหารทำจุกก๊อกขนาดเล็ก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 น.

คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553. ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัฒน์ พิชาน. 2550. สุดยอดไม้ประดับ-ไม้ดอกหอม. ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. กรุงเทพมหานคร.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพมหานคร. 112 น.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์รั้งที่ 1. เชียงใหม่ คอดคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. 315 น.

The Plant List. 2013. “Millingtonia hortensis L.f.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-317516 (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้