รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03655


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi L. 

สกุล

Mimusops L.

สปีชีส์

elengi

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Imbricaria perroudii Montrouz.

Kaukenia elengi (L.) Kuntze

Kaukenia javensis (Burck) Kuntze

Kaukenia timorensis (Burck) Kuntze

Magnolia xerophila P.Parm.

ชื่อไทย
พิกุล
ชื่อท้องถิ่น
ซางดง (ลำปาง)/ พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช)/ พิกุลป่า (สตูล)/ แก้ว (ภาคเหนือ)/ กุน (ภาคใต้),
ชื่อสามัญ
Asian Bulletwood/ Bullet Wood/ Bukal/ Tanjong Tree/ Medlar/ Spanish Cherry
ชื่อวงศ์
SAPOTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-15 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว เรือนยอดแน่นทึบสีเขียวเข้ม แผ่กว้างเป็นพุ่มตรงหรือรูปเจดีย์ เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม

 ใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบมน ปลายใบแหลม ใบคล้ายแผ่นหนัง ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน ใต้ท้องใบสีเขียวอ่อน มีจนสีน้ำตาลแดงที่เส้นกลางใบ

ดอก ดอกเดี่ยว หรือช่อกระจุก 3-5 ดอก ดอกออกตามซอกใบ ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลเหลือง 8 กลีบ กลีบเลี้ยงแยกกัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 4 กลีบ รูปไข่ ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม กลีบดอกสีครีม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 24 กลีบ เรียงเป็น 3 วง วงละ 8 กลีบ เกสรเพศผู้ 16 อัน สมบูรณ์ 8 ไม่สมบูรณ์ 8 รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ผลสดรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.0-1.8 ซม. ยาว 1.5-3.0 ซม. ผลอ่อนจะมีขนสีน้ตาลปกคลุมและขนนี้จะหลุดร่วงไป ผลสุกสีแดง เนื้อในสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงติดอยู่

เมล็ด มี 1 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องกาน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ตอนกิ่ง เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชให้ร่มเงา

ปลูกประดับสถานที่

ดอก มีกลิ่นหอมเย็น ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง เข้ายาหอม ยานัตถุ์ แก้ลม แก้ไข้ บำรุงหัวใจ แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ แก้ร้อนใน ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย บำรุงโลหิต แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ดอกพิกุลตามสรรพคุณยาไทย จัดเข้าเครื่องยาพิกัดเกสรทั้ง 5 หรือใช้ผสมกับดอกไม้อื่น ที่มีกลิ่นหอมเพื่อทำบุหงา 

ผลดิบและเปลือกฝาดสมาน แก้ไข้ แก้ท้องเสีย 

เปลือกต้น รสฝาด ใช้ปรุงเป็นยาแก้เหงือกอักเสบ 

ใบ รสเบื่อฝาด แก้กามโรค แก้หืด ฆ่าพยาธิ 

เมล็ด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาท้องผูก ราก มีรสขมเฝื่อน เข้ายาบำรุงโลหิต แก้เสมหะ แก้ลม แก่น มีรสขมเฝื่อน เข้ายาบำรุงโลหิต ยาแก้ไข้ 

ขอนดอก เป็นเครื่องยาไทย อาจได้จากต้นพิกุลหรือตะแบกต้นแก่ๆ มีเชื้อราเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ แต่โบราณว่าขอนดอกที่ได้จากต้นพิกุลจะมีคุณภาพดีกว่า ขอนดอกมีกลิ่นหอม รสจืด มีสรรพคุณบำรุงตับ ปอด และหัวใจ บำรุงทารกในครรภ์ (ครรภรักษา) ทำให้หัวใจชุ่มชื่น

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “พิกุล.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2249 (10 มิถุนายน 2560)

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

The Plant List. 2013. “ Mimusops elengi L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-128461 (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2553. “พิกุล.” [ระบบออนไลน์]. http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=251 (10 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้