รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03656


ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi L. 'Variegated'

สกุล

Mimusops L.

สปีชีส์

elengi

Variety

Variegated

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Imbricaria perroudii Montrouz.

Kaukenia elengi (L.) Kuntze

ชื่อไทย
พิกุลด่าง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
SAPOTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-15 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาว เรือนยอดแน่นทึบสีเขียวเข้ม แผ่กว้างเป็นพุ่มตรงหรือรูปเจดีย์ เปลือกต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องตื้นตามยาว กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม

ใบ ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ รูปรี หรือรูปรีแกมขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่น ใบด่างขาวเหลืองบริเวณขอบใบ กลางใบด่างสีเขียว เข้ม-อ่อน 

ดอก ดอกเดี่ยว หรือช่อกระจุก 3-5 ดอก ดอกออกตามซอกใบ ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.0-1.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลเหลือง 8 กลีบ กลีบเลี้ยงแยกกัน เรียงเป็น 2 วง วงละ 4 กลีบ รูปไข่ ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุม กลีบดอกสีครีม โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 24 กลีบ เรียงเป็น 3 วง วงละ 8 กลีบ เกสรเพศผู้ 16 อัน สมบูรณ์ 8 ไม่สมบูรณ์ 8 รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ผลสดรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 1.0-1.8 ซม. ยาว 1.5-3.0 ซม. ผลอ่อนจะมีขนสีน้ตาลปกคลุมและขนนี้จะหลุดร่วงไป ผลสุกสีแดง เนื้อในสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงติดอยู่

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องกาน้ำและความชื้นปานกลาง ชอบแสงแดดจัด

 

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือเพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

The Plant List. 2013. “ Mimusops elengi L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-128461 (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้