รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03677


ชื่อวิทยาศาสตร์

Momordica charantia L.

สกุล

Momordica L.

สปีชีส์

charantia

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Cucumis argyi H.Lév.

Cucumis intermedius M.Roem.

Momordica charantia subsp. abbreviata (Ser.) Greb.

Momordica charantia f. abbreviata (Ser.) W.J.de Wilde & Duyfjes

Momordica charantia var. abbreviata Ser.

ชื่อไทย
มะระขี้นก
ชื่อท้องถิ่น
ผักเหย(สงขลา) / ผักไห(นครศรีธรรมราช) / มะร้อยรู(กลาง,ใต้) / มะห่อย, มะไห่(เหนือ)
ชื่อสามัญ
Balsam pear
ชื่อวงศ์
CUCURBITACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้เลื้อย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ไม้เถาเลื้อย อายุปีเดียว มีมือเกาะ ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม

ใบ: ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้น รูปแผ่กว้าง แผ่นใบเว้าลึกเป็น 5 พู ขนาด 3-7 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบจักตื้น ก้านใบยาว 2-6 ซม.

ดอก: ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ก้านดอกยาว 5-10 ซม. ดอกเพศผู้ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันที่ฐาน เกสรผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียกลีบดอกคล้ายดอกเพศผู้ มีก้านชูเกสร 1 อัน ปลายแยก 3 แฉก มีเกสรผู้เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อน

ผล: ผลเป็นผลสด รูปป้อมรี หัวท้ายแหลม เมื่อสุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดรูปไข่แกมรี ขนาด 7-10 มม. มีเยื่อหุ้มสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบขึ้นบริเวณที่มีดินร่วน ระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ประเทศมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์

ทวีปเอเชีย แอฟริกา อเมริกา

การปลูกและการขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร

ใบ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยระบาย น้ำคั้นใบดื่มเป็นยาทำให้อาเจียน บรรเทาอาการท่อน้ำดีอักเสบ 

ดอก ชงกินกับน้ำแก้อาการหืดหอบ 

ผล กินเป็นยาขม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ขับพยาธิ แก้ตับและม้ามอักเสบ หรือจะคั้นน้ำมะระดื่มสัปดาห์ละไม่เกิน 1 แก้ว เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นยาระบาย

เมล็ด รสขมแก้พิษ เป็นยากระตุ้นความรู้สึกทางเพศ เพิ่มพูนลมปราณ บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม 

น้ำต้มรากมะระขี้นกใช้ดื่มเป็นยาลดไข้ บำรุงธาตุ เป็นยาฝาดสมาน แก้ริดสีดวงทวาร แก้บาดแผลอักเสบ 

หมายเหตุ

เนื่องจากพืชชนิดนี้เป็นผักพื้นบ้านธรรมชาติที่ขึ้นได้ทั่วๆ ไป นกจึงชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด จากนั้นก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่างๆ ถ้าเมล็ดได้ดินดีมีน้ำพอเหมาะก็จะงอก ผลิใบทอดลำต้นเลื้อยไปเกาะตามที่ๆ มันเกาะได้ เช่น ต้นไม้ใหญ่ แนวรั้วบ้าน เหตุนี้เองมะระลูกเล็กลูกนี้จึงถูกเรียกว่า "มะระขี้นก"

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “มะระขี้นก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=1208 (12 มิถุนายน 2560)

ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน. 2010. “มะระขี้นก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10743 (12 มิถุนายน 2560)

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน). 2553. “Balsam pear, Bitter cucumber.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1002&name= (12 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Momordica charantia L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2372864 (12 มิถุนายน 2560)

The State of Queensland, Department of Agriculture and Fisheries. 2017. “Balsam pear.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.daf.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0011/69491/IPA-Balsam-Pear-PP134.pdf (12 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้