รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03695


ชื่อวิทยาศาสตร์

Murraya paniculata (L.) Jack

สกุล

Murraya J.Koenig ex L.

สปีชีส์

paniculata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Camunium exoticum (L.) Kuntze

Chalcas cammuneng Burm.f.

Chalcas intermedia M.Roem.

Chalcas japanensis Lour.

Chalcas paniculata L.

ชื่อไทย
แก้ว
ชื่อท้องถิ่น
แก้วขาว (กลาง)/ แก้วขี้ไก่ (ยะลา)/ แก้วพริก ตะไหลแก้ว (เหนือ)/ แก้วลาย(สระบุรี)/ จ๊าพริก (ลำปาง)
ชื่อสามัญ
Andaman satinwood / Chinese box wood / Orange jasmine
ชื่อวงศ์
RUTACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-8 ม. สามารถตัดแต่งเป็นพุ่มได้ ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีครีม แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อยเรียงสลับ มีใบย่อย 3-9 ใบ ใบรูปรี ใบบนสุดเป็นรูปหอกกลับ กว้าง 1.5-4.0 ซม. ยาว 2-10 ซม. โคนใบรูปลิ่มหรือโคนเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบแข็งและหนา ใบมีต่อมน้ำมัน เมื่อขยี้จะมีกลิ่นฉุน ผิวใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน ผิวใบด้านล่างเป็นสีเขียวอ่อน

ดอก ดอกช่อกระจุก ออกเป็นช่อสั้นที่ปลายยอด ก้านดอกย่อยยาว 0.5-1.0 ซม. กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน รูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวรูปรี 5 กลีบ ปลายกลีบมนหรือแหลม กลีบดอกร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมในเวลากลางคืน ดอกบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อัน สั้น 5 อัน ยาว 5 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ผลสดแบบผลส้ม รูปรีหรือไข่ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด มีความกว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 0.8-1.3 ซม.

เมล็ด รูปรี มีขนหนาและเหนียวหุ้มรอบเมล็ด แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นประปราย ตามป่าดงดิบทั่วไป หรือบนเขาหินปูน ที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 600 ม. ปลูกกลางแจ้งจะมีพุ่มดกและมีดอกมาก

ถิ่นกำเนิด

ประเทศทางเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และออสเตรเลีย

การกระจายพันธุ์

จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน

การปลูกและการขยายพันธุ์

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด, ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก
ออกดอกตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ออกดอกตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชใช้เนื้อไม้

รากสด มีรสเผ็ดสุขุม ต้มกับน้ำกินแก้แผลฟกช้ำ ใช้เป็นยาพอกแผล รากแห้งหั่นเป็นฝอยตุ๋นกับหางหมูเจือสุรากินแก้ปวดเมื่อย

รากและต้นแห้ง หั่นต้มเคี่ยวแล้วกรองน้ำมาใช้ช่วยเร่งการคลอดบุตร โดยใช้ผ้าพันแผลจุ่มน้ำยาสอดเข้าไปที่ปากมดลูก แก้ผื่นคันที่เกิดจากความชื้น แก้พิษแมลงต่อย

ก้านและใบสด มีรสเผ็ดร้อนขม บดแช่แอลกอฮอล์ 24 ชั่วโมง ใช้ทาหรือเป็นยาฉีดเป็นยาระงับปวด ต้มอมบ้วนปากแก้ปวดฟัน ก้านใช้ทำความสะอาดฟัน

กิ่งและใบ ใช้รักษาโรคเอดส์

ใบ เป็นยาแก้จุกเสียด บำรุงโลหิต - ไม้ทำซอด้วง ซออู้

หมายเหตุ

ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว

แหล่งอ้างอิง

คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงาน    มหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญ พาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2555. พรรณไม้ในมหาวิทยาลัย   ราชภัฏเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ ดอคคิวเมนทารี ดีไซด์ จำกัด. เชียงใหม่. 315 น.

เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

The Plant List. 2013. “Murraya paniculata (L.) Jack.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-2510469 (13 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้