รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03697


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Hom Champa'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Hom Champa

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยหอมจำปา
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยป่าพัทลุง
ชื่อสามัญ
Kluai Hom Champa
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กล้วยชนิดนี้ จัดเป็นพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่ามาแล้ว 

ต้น: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมน้อยกว่า 15 ซม. กาบด้านนอกมีประดำมาก มีนวลปานกลาง ด้านในสีเขียวอมเหลือง

ใบ: ก้านใบตั้ง มีร่องกว้าง มีครีบสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก: ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบน สีแดงอมม่วง สีด้านล่างสีซีดปลายสีแดง ปลายใบประดับแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันนัก ดอกก้านสั้น

ผล: เครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10 - 15 ผล ขนาดผลใกล้เคียงกับกล้วยหอมจันทน์ กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 8 - 10 ซม. รูปร่างผลคล้ายกล้วยไข่ แต่ผอมกว่ากล้วยไข่ ปลายผลไม่มีจุก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองจำปา เนื้อมีสีเหลือง รสหวาน มีเมล็ดเบ้างไม่มากนัก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประเทศไทยพบมากแถบภาคใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ปลูกในช่วงฤดูฝนจะดีมาก เนื่องจากไม่ต้องคอยดูแลเรื่องรดน้ำ ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง หากปลูกในช่วงฤดูแล้ง หรือปลูกในที่ดอน ให้น้ำบ้าง 1-2 วันครั้ง

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

รับประทานผลสด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Hom Champa’ กล้วยหอมจำปา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75929 (13 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Hom Champa’ กล้วยหอมจำปา.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75929 (13 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้