รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03698


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Hom Chan'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Hom Chan

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยหอมจันทร์
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Hom Chan
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กกลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวและมีสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง 

ใบ: ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก ก้านช่อดอกมีขน       

ปลี หรือดอก: ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบนสีแดงอมม่วง สีด้านล่างแดงซีด  ปลายใบประดับปลายแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก ดอกมีก้านสั้น ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม เมื่อกาบปลีเปิด ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีด

ผล: ผลขนาดเล็ก รูปร่างผลคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นและใหญ่เมื่อทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลือง มีกลิ่นหอมเย็น รสหวาน ไม่มีเมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ทางภาคเหนือของประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

เนื้อผลเมื่อสุกงอมจะเหนียว ใช้ผสมเนื้อดินทำพระเครื่อง

และรับประทานเป็นผลไม้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

bananacenterkp. 2015. “กล้วยหอมจันทน์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618362736293617359236333609360736093660.html (13 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้