รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03700


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Khai Chumporn'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Khai Chumporn

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยไข่ชุมพร
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Khai Chumporn
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะทั่วไปของกล้วยไข่

ต้น: มีลำต้นแท้ที่เป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.0 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนญ์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร หรือ มีเส้นรอบวงลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวปนเหลือง

ใบ: ใบมีสีเขียวปนเหลือง ใบไม่เป็นนวล ก้านใบสีเขียวอมเหลือง ใบกว้างประมาณ 70-75 เซนติเมตร ยาว 180-195 เซนติเมตร แผ่นใบทั้งสองด้านมีความกว้างไม่เท่ากัน มีร่องกว้าง

ดอก: ดอกเป็นแบบดอกรวม เรียกว่า ปลี ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันโดยดอกเพศเมียอยู่ด้านบน ส่วนดอกเพศผู้อยู่ด้านล่าง ใบประดับดอกมีรูปไข่ มีลักษณะม้วนงอขึ้น โดยมีส่วนปลายค่อนข้างแหลม ด้านล่่างมีสีแดงอมม่วง ด้านบนมีสีซีด

ผล: แบ่งเป็นหวีๆ ประมาณ 7-10 หวี แต่ละหวีมีผลกล้วยประมาณ 10-14 ผล ผลมีขนาด กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร มีก้านผลค่อนข้างสั้น เปลือกผลค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลือง แต่อาจพบจุดดำเล็ก ๆ ประปรายบนเปลือกผล เนื้อกล้วยมีสีครีมอมส้ม ให้รสหวาน และมีกลิ่นหอม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้

ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร

กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ

ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

puechkaset. “กล้วยไข่ ประโยชน์ และการปลูกกล้วยไข่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยไข่/ (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้