รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03701


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Khai Kamphaengphet'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Khai Kamphaengphet

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยไข่กำแพงเพชร
ชื่อท้องถิ่น
ไข่กำแพงเพชร กระ (ทั่วไป)
ชื่อสามัญ
Kluai Khai Kamphaengphet
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูง 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลือง มีประดำสีน้ำตาลเข้มหนา ด้านในสีชมพู 

ใบ: ก้านใบสีเขียวอมหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีขมพู 

ปลี หรือดอก: ก้านช่อดอกมขนอ่อน ลักษณะของใบประดับรูปไข่ ด้านบนสีแดงอมม่วง โคนกลีบด้านล่าง สีซีด ปลายใบประดับค่อนข้างแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก ดอกกลีบรวมใหญ่ สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี ก้านสั้น 

ผล: ผลขนาดเล็ก รูปร่างผลทรงกระบอกค่อนข้างกลม ไม่มีเหลี่ยม กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ปลายมีจุกเล็กน้อย ก้านผลสั้น เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อสีครีมอมส้ม รสชาติหวาน ไม่มีเมล็ด เนื้อละเอียด เปลือกบาง มีขนาดผลที่พอเหมาะต่อการรับประทาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เดิมเป็นกล้วยที่ปลูกกันมากในแถบตลิ่งชัน และบางกอกน้อย ต่อมามีผู้นำไปปลูกในสภาพไร่ที่บ้านตะเคียนเลื่อน ต.ตะเคียนเลื่อน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นแห่งแรก หลังจากนั้นจึงขยายเป็นการค้าที่กำแพงเพชร และสุโขทัย 

การกระจายพันธุ์

ประเทศอินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้

ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร

กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ

ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

หมายเหตุ

คนที่ปลูกกล้วยไข่คนแรกแห่งเมืองกำแพง ชาวจีนชื่อ นายฮะคลึ้ง แซ่เล้า เดินทางระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ ถึงกำแพงเพชร ได้นำหน่อพันธุ์กล้วยไข่ จากจังหวัดนครสวรรค์ มาปลูกประมาณ ปี พศ. 2465 และต่อมาพันธุ์กล้วยไข่จากสวนนี้ ได้แพร่ขยายไปยังอำเภออื่นฯในเขตจังหวัดกำแพงเพชร

แหล่งอ้างอิง

bananacenterkp. 2015. “กล้วยไข่กำแพงเพชร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618365235863656358536353649361435913648361435943619.html (14 มิถุนายน 2560)

Goto Know. “ประวัติกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/114151 (14 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “กล้วยไข่ ประโยชน์ และการปลูกกล้วยไข่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยไข่/ (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้