รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03704


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Khanun'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Khanun

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยขนุน
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Khanun
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำที่คอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อนมีปื้นแดง ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียว ไม่มีปื้นที่ลำต้น 

ใบ: ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบกว้าง โค้งลง โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก หรือปลี: ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในโคนใบประดับสีเหลือง ด้านในปลายใบประดับสีแดง ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกสั้น ขนาดผลใหญ่ยาว ปลายผลจุกเป็นจีบยาวชัดเจน 

ผล: การเรียงของผลเป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 18-20 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลือง รสชาติหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายกลิ่นขนุน ไม่มีเมล็ด กล้วยขนุน จะมีเนื้อเหนียว หักไม่ออก ปล่อยให้สุกงอมจนเปลือกมีผิวดำ แต่เนื้อยังกรอบ ไม่เละเหมือนกับกล้วยหอมทั่วไป 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ภาคใต้ แหล่งที่พบ  จังหวัดนราธิวาส

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้

ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร

กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ

ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

หมายเหตุ

จััดอยู่ในกลุ่มกล้วยแพลนเทน  (Musa paradisiaca) มีผลขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายกล้วยหอม เนื้อแข็ง มีสตาร์ชมาก ผลดิบมีรสชาติคล้ายมันฝรั่ง ผลสุกมีรสหวาน และต้องนำแพลนเทนมาทำให้สุกก่อนนำไปบริโภค เช่น ทอด ต้ม หรือเผา

แหล่งอ้างอิง

เทคโนโลยีชาวบ้าน โดยมติชน. 2556. “มหัศจรรย์พันธุ์กล้วยไทย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05062011156&srcday=&search=no (14 มิถุนายน 2560)

bananacenterkp. 2015. “กล้วยขนุน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/358536213657362336183586360936403609.html (14 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “กล้วยไข่ ประโยชน์ และการปลูกกล้วยไข่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยไข่/ (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้