รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03709


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Nio Nang Ram'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nio Nang Ram

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนิ้วนางรำ
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Nio Nang Ram
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้นเทียมประมาณ 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีชมพูอมแดง 

ใบ: มีปื้นดำที่คอใบ ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองอมชมพู ไม่มีปื้นแดง ก้านใบเปิด ก้านใบสีส้มอมชมพู มีครีบ ก้านใบสีแดง ลักษณะใบเรียวยาวชูตั้งขึ้น โคนใบเรียว ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน 

ปลี หรือดอก: ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ใบรูปประดับม้วนงอขึ้น ปลายก้านช่อดอกโค้งลง 

ผล: ขนาดผลเล็กเรียวยาว ปลายผลมีจุกชัดเจน และเกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล บางผลตรง บางผลโค้งงอ การเรียงของผลไม่เป็นระเบียบ จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 8-10 ผล ผิวดิบสีเขียวอมม่วงแดง ผิวผลสุกสีเหลืองอมแดง มีเนื้อผลสุกสีเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่มีเมล็ด
 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเทศไทยพบที่ภาคตะวันออก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้

ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร

กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ

ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Neu Nang Ram’ กล้วยนิ้วนางรำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75916 (14 มิถุนายน 2560)

bananacenterkp. 2015. “กล้วยนิ้วนางรำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360936363657362336093634359136193635.html (14 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “กล้วยไข่ ประโยชน์ และการปลูกกล้วยไข่.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยไข่/ (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้