รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03714


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Sae Ma'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Sae Ma

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยแส้ม้า
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Sae Ma
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประดำปานกลาง มีไข กาบลำต้นด้านในสีเขียวอ่อน 

ใบ: ก้านใบมีร่องมีครีบสีแดง เส้นกลางใบสีเขียวนวล 

ปลี หรือดอก: เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดิน แล้วห้อยลง ก้านดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายมน กาบปลีและดอกกระเทยไม่หลุด ช่วงของดอกกระเทยยาวมาก ด้านบนสีม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดง ใบประดับไม่หลุด 

ผล: เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 15-20 ผล ผลยาวเรียว ปลายงอนเล็กน้อย ที่ปลายมีจุกยาวใหญ่ คล้ายนิ้วจระเข้แต่ยาวกว่า ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อสีเหลืองอ่อน มีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ภาคใต้ แหล่งที่พบ อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

การกระจายพันธุ์

ภาคใต้ของประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ผลสุกนิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้

ใบตอง ใช้สำหรับห่อขนม ห่อหมกทำอาหาร

กาบกล้วยใช้ทำเป็นเชือกรัดของ

ต้นกล้วยใช้ทำเป็นเยื่อกระดาษ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

bananacenterkp. 2015. “กล้วยแส้ม้า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618364936263657361736573634.html (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้