รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03716


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Thong Dok Mak'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Thong Dok Mak

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยทองดอกหมาก
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Thong Dok Mak
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมประมาณ 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียม มีประดำมาก ตรงโคนมีสีชมพู ไม่มีไข ด้านในสีเขียวอ่อน

ใบ: ก้านใบสีเขียวอมชมพู มีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีกสีแดง เส้นกลางใบสีเขียวอมชมพู

ดอก: ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบน สีแดงอมเทา ไม่มีนวล สีด้านล่าง สีแดงซีด ปลายใบประดับแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก

ผล: เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีหรือต่ำกว่า หวีหนึ่งมี 16 - 18 ผล เนื้อ:เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสหวาน ไม่มีเมล็ด กล้วยทองดอกหมาก ผลคล้ายกล้วยหอมทองขนาดเล็ก ปลายผลใหญ่ไม่มีติ่ง ผลสุกมีรสหวาน มีกลิ่นหอมคล้ายแตงไทย

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

รับประทานผลสด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘ Kluai Thong Dok Mak’ กล้วยทองดอกหมาก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75933 (15 มิถุนายน 2560)

nanagarden. 2013. “กล้วยทองดอกหมาก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.nanagarden.com/product/195038 (15 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้