รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03717


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AA) 'Thong Ngoi'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Thong Ngoi

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยทองเงย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Thong Ngoi
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูง 3 เมตร เส้นรอบวงต้น 60-70 เซนติเมตร สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีประดำที่ลำต้นและคอใบชัดเจน กาบด้านในสีเหลืองอมชมพู ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียวอมส้ม มีนวล 

ใบ: ใบอ่อนมีปื้นแดง ก้านใบสีเหลืองอมเขียว มีครีบก้านใบสีชมพูอมส้ม ก้านใบเปิด โคนใบเรียวตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน  

ปลี หรือดอก: ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับปลายแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันชัดเจน ใบประดับด้านในโคนสีเหลือง ปลายใบประดับด้านในสีแดงส้ม ลักษณะทรงเครือขนานกับพื้นดิน ปลายก้านช่อดอกโค้งลง ขนาดผลสั้นเรียวกลม ก้านผลสั้น เกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล 

ผล: การเรียงของผลเป็นระเบียบเวียนไปด้านเดียวกัน จำนวนหวีต่อเครือประมาณ 7-8 หวี หวีหนึ่งประมาณ 12-14 ผล ผิวผลดิบมีสีเข้ม ผิวผลสุกสีเหลืองทอง เมื่อสุกเนื้อผลสีเหลืองครีม รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ภาคใต้  แหล่งที่พบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

รับประทานผลสด

ความเชื่อ ว่าเป็นพืชมงคล เช่นเดียวกับมะยางขนุน และเป็นยาแก้พิษ คางจมูกและให้พิธีกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย 

หมายเหตุ

จัดอยู่ในกลุ่มกล้วยหอมสั้น

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. “กล้วยทองเงย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.culture.nstru.ac.th/~culturedb/culture.php?cultureCode=1314&cultureTitleT=%A1%C5%E9%C7%C2%B7%CD%A7%E0%A7%C2 (14 มิถุนายน 2560)

bananacenterkp. 2015. “กล้วยทองเงย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360736293591364835913618.html (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้