รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03718


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Chai'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Chai

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยไช้
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยมะขาม กล้วยหอมเปรี้ยว
ชื่อสามัญ
Kluai Chai
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

จีโนม 'A' เป็นลักษณะทางพันธุกรรมของ Musa acuminata คือ กล้วยป่า เป็นกล้วยชนิดหนึ่งซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นต้นตระกูลของกล้วยที่รับประทานได้ในปัจจุบัน

กลุ่ม AAA กล้วยกลุ่มนี้มีจำนวนโครโมโซม 3 ชุด ผลจึงมีขนาดใหญ่กว่ากลุ่มแรก รูปร่างผลเรียวยาว มีเนื้อนุ่ม รสหวาน กลิ่นหอม รับประทานสด

ต้น: กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือ เหง้า ต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น เราเรียกว่า ลำต้นเทียม เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบ

ใบ: ใบกล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ 70-90 ซม. ความยาว 1.7-2.9 ม. ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบมีสีเขียว

ดอก: ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ ในช่อดอกยังมีกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ แต่ละช่อจะมีกลีบประดับ หรือที่เราเรียกกันว่า กาบปลี สีม่วงแดงกั้นไว้ ลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคน และกลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย

ผล: ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ที่โคน 1 กลุ่ม เจริญเป็นผล  เรียกว่า 1 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลดิบใช้แทนผักใส่แกงเพื่อเพิ่มเนื้อและรสเปรี้ยว ผลสุกรับประทานเป้นผลไม้ รสค่อนข้างเปรี้ยว

หมายเหตุ

เดิมพบปลูกในสวนผลไม้ย่านราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ ในชื่อกล้วยหอมเปรี้ยว และสูญพันธุ์ไปกว่า 80 ปี เพิ่งพบอีกครั้งที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2547

แหล่งอ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “กล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=chap6.htm (14 มิถุนายน 2560)

วิกิพีเดีย. “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/กล้วยป่า (14 มิถุนายน 2560)

วิกิพีเดีย. “พันธุ์กล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/พันธุ์กล้วย#.E0.B8.81.E0.B8.A5.E0.B8.B8.E0.B9.88.E0.B8.A1_AA (14 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้