รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03731


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Hom Tai Wan'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Hom Tai Wan

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยหอมใต้หวัน
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Hom Tai Wan
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียม มีประดำมาก ด้านในสีเขียวปนแดง หรือ มีเปลือกลำต้นออกสีน้ำหมาก

ใบ: ก้านใบ มีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก: ก้านช่อดอก มีขนอ่อน ๆ ลักษณะของใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบน สีแดงอมม่วง มีไข สีด้านล่าง สีแดงซีด ปลายใบประดับ ปลายแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก ดอกมีก้านยาว

ผล: ผลรูปร่างยาว ปลายผลมีจุก หวีหนึ่งมี15-16 ผล เครือหนึ่งมี 4-6 หวี เมื่อสุกเปลือกจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองส้มทองมากกว่ากล้วยหอมทอง เปลือกหนา เนื้อมีสีครีม-ส้มอ่อนๆ รสหวานน้อยกว่ากล้วยหอมทองและมีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชีย

การกระจายพันธุ์

Asia Africa และ Latin America

นำเข้าจากไต้หวันและปลูกเป็นการค้ามากในเขตภาคกลาง เช่น ปทุมธานี สระบุรี นครนายก นครปฐมปทุมธานี

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

รับประทานผลสุก แต่ทั้งนี้ ก็มีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆในหลายด้านด้วยกัน ได้แก่
– ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
– หยวกกล้วยจากต้นกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร รวมไปถึงปลีกล้วยหลังการตัดปลีที่ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งได้
– ก้าน และใบ จากการตัดแต่งใบนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โค กระบือ
– หน่อ และลำต้น หลังเก็บเกี่ยวหรือการตัดทิ้งนำมาเลี้ยงหมู
– เปลือกกล้วยหรือผลกล้วยเน่า รวมถึงลำต้น ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
– กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Hom Thong Taiwan’’  กล้วยหอมทองไต้หวัน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75952 (15 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “กล้วยหอม และการปลูกกล้วยหอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยหอม/ (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้