รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03736


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Hom To Mok'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Hom To Mok

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยหอมทูม็อก
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยทูดอก
ชื่อสามัญ
Kluai Hom To Mok
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. สีของกาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประดำที่ลำต้นและคอใบ มีนวลที่คอใบเล็กน้อย กาบด้านในสีเหลืองและ มีปื้นแดง ลักษณะต้นอ่อนลำต้นสีเขียว มีประที่ลำต้นและที่ใบ

ใบ: ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบสีแดง ก้านใบเปิด โคนใบค่อนข้างเรียว ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก: ก้านช่อดอกมีขน ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น ใบประดับด้านนอกสีม่วงแดง ใบประดับด้านในโคนสีเหลือง ปลายใบประดับด้านในสีแดง การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย

ผล: ก้านผลสั้น ขนาดผลเรียวใหญ่และยาว การเรียงของผลเป็นระเบียบ ผิวผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมเขียว เนื้อ:เนื้อสีขาว กลิ่นหอม รสหวาน เนื้อเละไม่มีเมล็ด ต้องบ่มดัวยความเย็นจะทำให้คุณภาพดีมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์และนำมาปลูกท่สถานีวิจัยปากช่อง

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

รับประทานผลสุก แต่ทั้งนี้ ก็มีการใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆในหลายด้านด้วยกัน ได้แก่
– ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
– หยวกกล้วยจากต้นกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร รวมไปถึงปลีกล้วยหลังการตัดปลีที่ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งได้
– ก้าน และใบ จากการตัดแต่งใบนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โค กระบือ
– หน่อ และลำต้น หลังเก็บเกี่ยวหรือการตัดทิ้งนำมาเลี้ยงหมู
– เปลือกกล้วยหรือผลกล้วยเน่า รวมถึงลำต้น ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
– กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Tomok’ กล้วยทูมอก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75960 (15 มิถุนายน 2560)

puechkaset. “กล้วยหอม และการปลูกกล้วยหอม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://puechkaset.com/กล้วยหอม/ (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้