รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03741


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Kuug Khiao'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Kuug Khiao

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยกุ้งเขียว
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยทองเสา กล้วยทุเรียน กล้วยเรียน (ใต้)
ชื่อสามัญ
Kluai Kuug Khiao/ Mautaut Red Banana
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมชมพู มีปื้นสีดำปานกลาง มีไขปานกลาง ด้านในสีเขียวอมเหลือง

ใบ: ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีครีบ ขอบครีบสีชมพูเส้นกลางใบสีเขียวอมชมพู ก้านใบกางออกด้านข้าง

ดอก: ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะของใบประดับ:ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลมและม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด

ผล: เครือหนึ่งมี 5-6 หวี หวีหนึ่งมี 12-14 ผล ขนาดของผลกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 12-14 เซนติเมตร เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลือง กลิ่นหอม รสหวาน รายละเอียดอื่นๆ:มีลักษณะคล้ายกล้วยนากเพราะเป็นต้นที่มีการกลายพันธุ์จากกล้วยนากซึ่งมีสีแดง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ

ผลสุกสามารถรับประทานเป็นผลไม้ได้ และสามารถปลูกเป็นพืชประดับภูมิทัศน์

หมายเหตุ

กลายพันธุ์มาจากกล้วยนาก

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวมฐานข้อมูลสิ่งมีชีวิตในไทย. 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Kung Khieo’ กล้วยกุ้งเขียว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75969 (24 เมษายน 2560)

Baanjomyut.com. 2543. “กล้วยกุ้งเขียว” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา:  http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-5/agricultural_knowledge/perennial_crops/25_1.html(24 เมษายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้