รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03743


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Nak Khom'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nak Khom

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนากค่อม
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยแดงสยาม กล้วยแดงอิสราเอล (ทั่วไป)
ชื่อสามัญ
Kluai Nak Khom
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น: ลำต้นไม่สูงมาก กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนชมพูแดง มีปื้นสีดำบ้าง ด้านในสีชมพูอมแดง 

ใบ: มีครีบ เส้นกลางใบสีชมพูปนแดง แผ่นใบสีเขียวมีสีแดงเรื่อๆก้านช่อดอกสีแดง มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลมและม้วนขึ้น ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด 

ปลี หรือดอก: ปลีรูปไข่ ปลายแหลม ปลีมีสีแดงอมม่วง กาบปลีเปิดม้วนงอขึ้น

ผล: ผลมีสีเขียวอมม่วง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงแดงอมม่วงเข้ม เนื้อสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอมเย็น เนื้อนิ่มละเอียด รสชาติหวาน ไม่มีเมล็ด
 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ในไทยพบที่จังหวัดกาญจนบุรี และมีการปลูกแพร่หลายในเขตบากกอกน้อย กรุงเทพฯ

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

รับประทานผลสด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติฯ. “ต้นกล้วยนากค่อม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://oer.learn.in.th/search/search_val/c729e4cc44cad3fb41f49b43f2703285 (15 มิถุนายน 2560)

bananacenterkp. 2015. “กล้วยนาก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360936343585.html (15 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้