รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03745


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Nak Thongphaphum'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nak Thongphaphum

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนากทองผาภูมิ
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยนากยักษ์ทองผาภูมิ (ทั่วไป)
ชื่อสามัญ
Kluai Nak Thongphaphum
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 28-35 ซม. สูง 320-400 ซม. ส่วนของกาบลำต้นสีแดงคล้ำใบค่อนข้างยาว

ใบ: แผ่นใบกว้าง สีเขียวอมแดงค่อนข้างหนา ร่องใบกว้าง ก้านใบมีสีแดงอมชมพู

ผล: ในหนึ่งเครือจะให้ 7-11 หวี ขนาดผลใหญ่กว่า และมีจำนวนหวีมากกว่ากล้วยนากทั่วไป แต่ละหวีมี 14-18 ผล ขนาดของผลกว้าง 4.5 เซนติเมตร ยาว 18-12 เซนติเมตร ผลดิบมีสีแดงสดใส ผลแก่จัดสีเลือดหมู แต่เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม ลักษณะผลโค้งงอคล้ายกล้วยหอม ก้านยาวกว่ากล้วยนากทั่วไป เนื้อสีส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นฉุนเมื่อสุกงอม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

พบมีปลูกกันตามบริเวณชายแดนไทยพม่า จากแม่ฮ่องสอนลงมาจนถึงกาญจนบุรี

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลใช้รับประทานสด ส่วนผลดิบฝานบาง ๆ ทอด พร้อมอบเนยจะให้สีเหลืองเข้มน่ารับประทาน

นิยมใช้เป็นกล้วยบูชาเทวดา พระราหู 

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

เทคโนโลยีชาวบ้าน โดยมติชน. 2560. ““กล้วยนาก” กล้วยโบราณหายาก สุกหอม..รสหวานอร่อย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_19206 (15 มิถุนายน 2560)

nanagarden. 2013. “กล้วยนาก ทองผาภูมิ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.nanagarden.com/product/208585 (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้