รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03747


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Nio Charakhe Ampawa'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nio Charakhe Ampawa

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนิ้วจระเข้อัมพวา
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์
ชื่อสามัญ
Kluai Nio Charakhe Ampawa
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น: จัดเป็นกล้วยในกลุ่มที่เป็นพันธุ์ของกล้วยป่า หรือพันธุ์ที่ได้กลายพันธุ์ไปจากพันธุ์แท้แต่ยังมีลักษณะพันธุ์แท้อยู่มาก มีลำต้นเทียม สูง 2.5-3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีปื้นดำ ด้านในสีชมพูอมแดง

ปลีหรือดอก: ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนเป็นสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด 

ผล: เครือหนึ่งมี 7–8 หวี หวีหนึ่งมีผล 10–16 ผล ผลมีรูปทรงกลมเล็ก โตประมาณกล้วยเล็บมือนาง แต่จะมีความยาวกว่าถึงสองเท่า และรอบผลจะมีเหลี่ยมสันสี่สันแต่ละผลเรียงกันเป็นระเบียบ และ ผลจะชี้ตรงตั้งฉากกับเครือทำให้ดูคล้ายนิ้วของจระเข้ ผลดิบ เป็นสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง รสชาติหวานหอมเหมือนกับรสชาติของกล้วยหอมทั่วไป จะมีความหวานน้อยกว่า เนื้อสุกไม่เละ

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เป็นพันธุ์โบราณพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในเขตอัมพวา

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

แยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

รับประทานผลสด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2553. “"กล้วยนิ้วจระเข้ยักษ์" ผลแปลกหวานอร่อย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/content/109866 (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้