รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03751


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAA) 'Thong Kampan'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Thong Kampan

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยทองกำปั่น
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยทองกำปั้น กล้วยนมสาว (กลาง)
ชื่อสามัญ
Kluai Thong Kampan
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำที่ลำต้นและคอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อน ต้นอ่อนลำต้นมีสีเขียว

ใบ คอใบสีชมพู ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบกว้างโค้งลง โคนใบเรียว ตำแหน่งใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับสั้น ปลายแหลม เรียงเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ด้านนอกสีม่วงแดง ด้านในโคนสีเหลือง ปลายสีแดงส้ม ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ดอกมีก้านดอกสั้น

ผล ปลายผลมีจุกเล็กน้อย ผลเรียงเป็นระเบียบ มีประมาณ 8 หวีต่อเครือ  หวีหนึ่งมีประมาณ 18-20 ผล ผลดิบมีสีเขียวเข้ม เมื่อสุกเนื้อผลสีเหลืองทอง มีรสชาติหวาน

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

ถิ่นอาศัยอยู่ในภาคใต้ของไทย พบที่จังหวัดสงขลา

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลมีรสชาติหวานหอมหรือปนเปรี้ยมเล็กน้อย รับประทานอร่อย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. ““กล้วยทองกำปั้น” คือกล้วยนมสาว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/517528 (6 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยทองกำปั่น.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360736293591358536353611363336563609.html (6 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้