รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03755


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAB) 'Kanai'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Kanai

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยกาไน/ กล้วยเขียว
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Kanai
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีปื้นสีดำที่ลำต้นและคอใบ มีนวลเล้กน้อย กาบด้านในสีเหลืองและมีปื้นแดงเล็กน้อย ต้นอ่อนลำต้นสีเขียว มีนวล

ใบ ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียวอ่อนโคนใบมีปื้นดำ มีครีบก้านใบสีเขียว ใบกว้างโค้งลง  โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างไม่เท่ากัน

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ลักษณะของใบประดับยาว ปลายใบประดับแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ใบประดับด้านนนอกสีน้ำตาลแดง ด้านในโคนใบประดับสีเหลืองซีดเป็นริ้วตามยาว ด้านในปลายใบประดับมีจุกเล็กน้อย

ผล เรียงเป็นระเบียบ มีประมาณ 6 หวีต่อเครือ หวีหนึ่งมีประมาณ 12 ผล ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกเนื้อผลสีเหลืองอมส้ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในไทยพบที่ภาคใต้ ในแถบจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยกาไน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/358536213657362336183585363436523609.html (6 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก
แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์
สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้