รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03758


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAB) 'Khom'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Khom

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยขม
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยขมหนัก ขมสุรินทร์ ขมบุรีรัมย์ ขมเบา หวาน (กะเหรี่ยง)
ชื่อสามัญ
Kluai Khom
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประสีดำปานกลาง มีไข กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูอ่อน

ใบ ก้านใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีประดำ ร่องด้านใบเปิด ใบสีเขียว

ดอก ก้านช่อดอกมีขนมาก ใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้นเล็กน้อย ด้านบนสีม่วงอมเทา มีนวลปานกลาง ด้านล่างสีแดง แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึก

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 10 ผล ผลอ้วนกลม ผลสุกสีเหลืองเข้ม เนื้อสีเหลืองครืม นิ่มละเอียด กลิ่นหอม รสหวาน ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

บ้านจอมยุทธ. 2543. “กล้วยขม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-5/agricultural_knowledge/perennial_crops/25_48.html (6 มิถุนายน 2560)

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa X paradisiacal ‘ Kluai Khom Nak’
กล้วยขม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75930 (6 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้