รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03769


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAB) 'Nom Nang'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nom Nang

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนมนาง
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Nom Nang
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเหลืองอมส้ม มีปื้นดำที่ลำต้นและคอใบ มีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเหลือง ต้นอ่อนลำต้นสีเขียวอมส้ม

ใบ คอใบสีส้ม ก้านใบเปิด ก้านใบสีเหลืองอมเขียว มีครีบก้านใบสีเขียวขอบแดง ลักษณะใบเล็กเรียวชูตั้งขึ้น โคนใบมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก ก้านช่อดอกมีขน ลักษณะทรงเครือและปลายก้านช่อดอกโค้งลง ใบประดับยาว ปลายใบแหลม ม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีม่วงส้ม ด้านในโคนใบสีเหลือง และปลายใบสีแดงส้ม ใบเรียงเหลื่อมซ้อนกันเล็กน้อย ดอกมีก้านดอกสั้น

ผล ผลเรียวสั้นป้อม ปลายผลมีจุกเล็กน้อย เกสรตัวเมียเมื่อแห้งไม่หลุดจากผล ผลเรียงเป็นระเบียบเวียนไปด้านเดียวกัน หนึ่งเครือมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 18-20 ผล ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกสีเหลือง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “กล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=chap6.htm (24 เมษายน 2560)

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa acuminata ‘Kluai Nom Nang’ กล้วยนมนาง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75943 (7 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้