รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03771


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAB) 'Nom Sao Phetchaburi'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nom Sao Phetchaburi

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนมสาวเพชรบุรี
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
KluaiNom Sao Phetchaburi
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ลำต้นเทียมสูงมากกว่า 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประสีดำมาก มีไขเล็กน้อย กาบลำต้นด้านในสีขาวปนชมพู

ใบ ก้านใบมีร่องเล็กน้อยมีครีบสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ด้านบนสีม่วงเข้มอมเทา มีนวล ด้านล่างสีซีด การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันมาก

ผล เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมีประมาณ 10-18 ผล ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้า มีจุกยาวและงอนขึ้น ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม  เนื้อสีเหลือง อมส้ม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

กลุ่ม AAB กล้วยชนิดนี้มีรสหวาน มีแป้งผสมอยู่บ้างในเนื้อ ทำให้มีความเหนียว บางชนิดรับประทานสดได้ บางชนิดต้องทำให้สุก ซึ่งเราเรียกกล้วยชนิดที่ต้องทำให้สุกนี้ว่า กล้าย (plantain)

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “กล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=chap6.htm (24 เมษายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยนมสาว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836093617362636343623.html (7 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้