รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03772


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (AAB) 'Nam Fhat'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nam Fhat

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำฝาด
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยน้ำกาบดำ
ชื่อสามัญ
Kluai Nam Fhat
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมมีความสูงต่ำกว่า 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียว มีประดำเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อน 

ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้างและมีปีกสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ

ดอก ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว สีด้านบนสีแดงอมเทา มีนวลปานกลาง สีด้านล่างสีแดงซีด ปลายใบประดับ ปลายแหลม ม้วนขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ค่อยซ้อนกันมาก

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 10-16 ผล ผลขนาดไม่โต ยาวประมาณ 12 ซม. กว้างประมาณ 3 ซม. รูปร่างโคนใหญ่ ปลายผลเรียว มีจุก เปลือกหนา เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสฝาดเมื่อสุกแต่หวานมากเมื่อสุกงอม มีไส้แข็ง มีกลิ่นหอม ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเเทศไทยพบปลูกที่ จ.จันทบุรี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa paradisiaca ‘Kluai Nam Phat’
กล้วยน้ำฝาด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75971 (7 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยน้ำฝาด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618360936573635361336343604.html (7 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้