รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03796


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Namwa Dam'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Namwa Dam

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำว้าดำ
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยน้ำว้าทองสัมฤทธิ์, กล้วยน้ำว้าไฟ, กล้วยน้ำว้าสำริด
ชื่อสามัญ
Kluai Namwa Dam
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูง 3.0-3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำเป็นแถบกว้าง ไม่มีนวล กาบด้านในสีเหลืองซีดสม่ำเสมอ มีปื้นแดง

ใบ ก้านใบค่อนข้างปิด สีเขียวและมีแถบดำ โดยเฉพาะก้านใบด้านล่างจะแถบสีดำ มีครีบก้านใบสีดำ

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับค่อนข้างยาว ด้านนอกสีม่วงอมแดง มีไข ด้านในสีแดงเข้มสม่ำเสมอ ปลายใบแหลม ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันลึก ก้านดอกค่อนข้างยาว

ผล ขนาดปานกลาง ทรงกระบอก มีเหลี่ยมผล ปลายผลมีจุก ผลเรียงเป็นระเบียบ เครือหนึ่งมีประมาณ 9-10 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 17-18 ผล ผลยาว 14-15 ซม. เส้นรอบวงผล 10-12 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวและจะเริ่มมีกระสีน้ำตาลทองหรือสีสนิม เนื้อผลสีขาว รสชาติหวานเล็กน้อย เนื้อแน่น มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เป็นกล้วยโบราณในสวนย่านตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

การกระจายพันธุ์

ประเทศไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2553. “"กล้วยน้ำว้าดำ" อร่อยแปลก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/100915 (8 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยน้ำว้าดำ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836093657363536233657363436043635.html (8 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้