รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03799


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Namwa Kap Khao'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Namwa Kap Khao

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำว้ากาบขาว
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยน้ำว้านวลป่าโมก กล้วยน้ำว้ามหาราช
ชื่อสามัญ
Kluai Namwa Kap Khao
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน มีปื้นเล็กน้อย ด้านในเป็นสีเขียวอ่อนหรือสีค่อนข้างขาว

ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับปลีรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้านม้วนงอขึ้น ด้านนอกสีแดงอมม่วง มีนวลสีขาว ด้านในสีแดงเข้ม

ผล เครือขนาดใหญ่และยาวมาก ในหนึ่งเครือจะมีหวีไม่น้อยกว่า 10-12 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดใหญ่มีเหลี่ยมเล็กน้อย ก้านผลสั้น เปลือกผลหนา ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลืองอมส้ม เนื้อในสีขาว ไส้กลางสีเหลือง สีชมพูหรือสีขาว รสหวานหอม

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

-

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในประเทศไทยพบปลูกมากในแหล่งปลูกกล้วยเพื่อการค้าสำคัญของประเทศ เช่น พิษณุโลก สุโขทัย นครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง ราชบุรี ปราจีนบุรี เป็นต้น

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ และแปรรูปได้หลากหลาย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2553. ““กล้วยน้ำว้ากาบขาว” ผลสวยเนื้ออร่อย" อร่อยแปลก.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/605723 (9 มิถุนายน 2560)

มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ. 2552. 108 พันธุ์กล้วยไทย. บริษัทโรงพิมพ์กรุงเทพ (1984) จำกัด, กรุงเทพฯ. 268 น.

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้