รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03802


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Namwa Khom'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Namwa Khom

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำว้าค่อม
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยน้ำว้าเตี้ย, กล้วยน้ำว้าปีนัง
ชื่อสามัญ
Kluai Namwa Khom
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.0-2.5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมมีจุดประทั่วไป กาบด้านในสีขาว โคนต้นสีชมพู ไม่มีไข 

ใบ โคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบปิด ขอบมีสีแดง เส้นกลางใบสีขาว 

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีห้อย ใบประดับรูปไข่แต่ค่อนข้างป้อม สีด้านบนสีแดงคล้ำ มีไข ด้านล่างสีแดง ปลายใบประดับแหลม ไม่ม้วน การเรียงของใบประดับซ้อนกันมาก ก้านช่อดอกสั้น 

ผล ขนาดใหญ่ กว้างประมาณ 3-4 ซม. ยาวประมาณ 11-13 ซม. หวีหนึ่งมีประมาณ 15-20 ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 10-12 หวี รูปร่างผลป้อม ทรงกระบอก ปลายค่อนข้างแหลม เปลือกเมื่อสุกเนื้อสีขาวมีไส้เหลือง บางครั้งมีเมล็ดแต่ไม่มาก เมล็ดมีสีดำ แข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้นสูง  กลางแจ้งในที่โล่ง  ดินทรายปนเหนียว

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ,พืชเศรษฐกิจ

รับประทานผล ใบใช้ห่อของ และสามารถปลูกเป็นพืชประดับภูมิทัศน์

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยน้ำว้าค่อม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/358536213657362336183609365736353623365736343588365636293617.html (25 เมษายน 2560)

Musa Germplasm Information System. 2017. Namwa Khom. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.crop-diversity.org/mgis/content/01bel084659-namwa-khom-0 (4 กันยายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้