รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03803


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Namwa Mali-ong'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Namwa Mali-ong

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง
ชื่อท้องถิ่น
น้ำว่าอ่อง ( เหนือ ) น้ำว้าเขมร ( จันทบุรี )
ชื่อสามัญ
Kluai Namwa Mali-ong
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูง 3.5 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. ก้านลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย

ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ออกเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายป้านม้วนงอขึ้น ด้านบนมีสีแดงอมม่วง มีนวลมาก ด้านล่างมีสีแดงเข้ม

ผล เครือหนึ่งมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-15 ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อย กว้าง 3-4 ซม. ยาว 11-13 ซม. เปลือกบาง มีสีเหลืองนวล เนื้อสีขาวนุ่ม ไส้กลางสีขาว รสหวานจัด ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้นสูง  กลางแจ้งในที่โล่ง  ดินทรายปนเหนียว

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชเศรษฐกิจ

เนื้อของกล้วยในกลุ่มนี้จะมีแป้งมาก โดยเฉพาะผลดิบ ผลที่สุกบางชนิดรับประทานสดได้ แต่บางชนิดอาจจะฝาด จึงนิยมนำมาทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน จะทำให้รสอร่อยขึ้น

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ไทยรัฐออนไลน์. 2558. ““กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” กับที่มาชื่อหวานชื่นใจ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/491591 (9 มิถุนายน 2560)

ปลูกกล้วยเพื่อการค้า ปลูกยางนาเพื่อสิ่งแวดล้อม. 2554. “กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://ddumdee.com/product_detail.php?p_id=2 (9 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้