รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03812


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (ABB) 'Nom Mi'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Nom Mi

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยนมหมี
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Nom Mi
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประสีดำปานกลาง ตรงโคนมีสีเขียวอมชมพู

ใบ ก้านใบปิดมีร่องแคบมาก มีปีกสีเขียวปนชมพูอ่อน เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายแหลม และม้วนขึ้น ด้านบนสีม่วงแดง มีนวลมาก ด้านล่างสีแดงเข้ม การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก

ผล เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีประมาณ 7-8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยหักมุก มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีเหลี่ยม มีจุกใหญ่และมีก้านเกสรติด ผลสีเขียวแตกลายงาทั้งทางยาวและขวาง เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลือง รสหวาน ไม่มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้น กลางแจ้ง ดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ไทย พบที่ภาคใต้ ในจังหวัดพัทลุง

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

เนื้อของกล้วยในกลุ่มนี้จะมีแป้งมาก โดยเฉพาะผลดิบ ผลที่สุกบางชนิดรับประทานสดได้ แต่บางชนิดอาจจะฝาด จึงนิยมนำมาทำให้สุกด้วยความร้อนก่อน จะทำให้รสอร่อยขึ้น

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. “การจำแนกกลุ่มของกล้วย.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-infodetail04.html (9 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยนมหมี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836093617362736173637.html (9 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้