รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03826


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa (BBB) 'Lep Chang Kut'

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

Lep Chang Kut

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยเล็บช้างกุด
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยเล็บช้างกุ, กล้วยโกะ
ชื่อสามัญ
Kluai Lep Chang Kut
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูง 3-4 ม. เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว ไม่มีปื้นดำ กาบด้านในสีเขียว 

ใบ ก้านใบมีสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางออกจะตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วน ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก  

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 15-16 ผล ผลอ้วนป้อมขนาดเท่ากล้วยตานี ปลายผลทู่ ก้านผลยาว ผลยาวประมาณ 5-6 ซม. กว้างประมาณ 3-4 ซม. ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง เนื้อสีเหลืองอมส้ม เมื่อสุกงอมมีรสหวาน เนื้อในมีแป้งมาก บางผลมีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

พบที่ภาคใต้ ในจังหวัดสงขลา

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร

ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้ ถ้าต้มเนื้อจะแน่นเหนียว

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa balbisiana ‘ Leb Chang Kut’ กล้วยเล็บช้างกุ กล้วยโกะ.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=76005 (9 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยเล็บช้างกุด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836483621365536103594365736343591358536403604.html (9 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้