รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03829


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa acuminata Colla

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

acuminata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Musa acuminata subsp. acuminata

Musa corniculata Kurz

Musa simiarum Kurz

ชื่อไทย
กล้วยป่า
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยไข่ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ)/ กล้วยเถื่อน กล้วยเถื่อนน้ำมัน (ภาคใต้)/ กล้วยลิง (อุตรดิตถ์)/ กล้วยหม่น (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 4.8 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวประสีดำ

ใบ รูปขอบขนาน กว้าง 50-70 ซม. ยาว 1.9-2.3 ม. สีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 80 ซม. สีเขียวอมเหลือง ร่องใบเปิด ก้านใบเรียวเล็ก

ดอก มีใบประดับสีเหลืองอ่อนหรือสีม่วง รูปไข่ ปลายแหลม

ผล ช่อผลมี 3-7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดเล็ก รูปทรงกระบอกหรือทรงรี ยาว 7-10 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ไม่มีเหลี่ยม ปลายมน เปลือกบางสีเขียวอมเหลือง เนื้อสีเหลือง เมล็ดจำนวนมาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในดินที่อุ้มน้ำ บริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบ ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาค ที่ความสูง 1,200 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

กล้วยป่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ สามารถกักเก็บน้ำ แล้วระบายสู่ลำธารในช่วงฤดูแล้งได้ดี 

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนาม

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ

กล้วยป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น หยวกกล้วยนำมาแกงใส่ไก่ กระดูกหมู หรือปลาแห้ง ยำใส่ปลากระป๋อง กินกับน้ำพริกได้ทั้งดิบและสุก หรือนำมาตำกับมดแดง ส่วนหัวปลีนำมาชุบแป้งทอด ห่อนึ่งใส่เนื้อหมู หรือยำกับเนื้อไก่ นอกจากนี้กาบต้นแห้งนำไปขายเพื่อทำกระดาษสา

สรรพคุณทางสมุนไพร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด 
ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร 
หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=750&view=showone&Itemid=59 (10 มิถุนายน 2560)

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน | สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/196 (10 มิถุนายน 2560)

Flora of China. “Musa acuminata.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200028236 (10 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa acuminata Colla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254739 (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย. 2555. “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherb-tip108.blogspot.com/2014/12/blog-post_85.html (10 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้