รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03864


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa acuminata Colla

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

acuminata

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Musa acuminata subsp. acuminata

Musa corniculata Kurz

Musa simiarum Kurz

ชื่อไทย
กล้วยป่าระยอง
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยป่า, กล้วยป่าเขาคิชฌกูฏ, กล้วยป่าทุ่งเบญจา
ชื่อสามัญ
Kluai Pa Rayong
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูง 3-4 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีปื้นดำ มีนวลมากชัดเจน กาบด้านในสีเขียวอ่อน มีปื้นแดง

ใบ ก้านใบเปิด ก้านใบสีเขียว มีครีบก้านใบสีแดง ใบเรียวยาวชูตั้งขึ้น โคนใบเรียวหนึ่งด้าน อีกด้านมน ตำแหน่งโคนใบทั้งสองข้างเท่ากัน

ดอก ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ ปลายก้านช่อดอกโค้งลงตั้งฉากกับเครือ ใบประดับค่อนข้างป้อมสั้น ด้านนอกสีม่วงอมแดง ด้านในโคนใบประดับสีแดงซีดออกเหลือง ปลายใบประดับสีแดง ปลายแหลมทับซ้อนเหลื่อมกันชัดเจน ม้วนงอขึ้น การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก ทรงเครือขนานกับพื้นดิน ก้านดอกสั้น

ผล ขนาดเล็กเรียวยาว มีจุกยาวชัดเจน สีเขียวเข้ม ผลเรียงเป็นระเบียบ เมื่อสุกมีสีเหลือง เนื้อผลสีขาว มีเมล็ดมาก เมล็ดสีดำ ผนังหนาและแข็ง

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบขึ้นเป็นกลุ่มในดินที่อุ้มน้ำ บริเวณริมลำธารที่มีความชื้นสูง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศไทย

การกระจายพันธุ์

ไม้การค้า

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
ตลอดปี
ระยะเวลาการติดผล
ตลอดปี
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ

กล้วยป่าสามารถใช้ประโยชน์ได้ตลอดทั้งปี โดยนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น หยวกกล้วยนำมาแกงใส่ไก่ กระดูกหมู หรือปลาแห้ง ยำใส่ปลากระป๋อง กินกับน้ำพริกได้ทั้งดิบและสุก หรือนำมาตำกับมดแดง ส่วนหัวปลีนำมาชุบแป้งทอด ห่อนึ่งใส่เนื้อหมู หรือยำกับเนื้อไก่ นอกจากนี้กาบต้นแห้งนำไปขายเพื่อทำกระดาษสา

สรรพคุณทางสมุนไพร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด 
ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร 
หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด

หมายเหตุ

กล้วยป่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ สามารถกักเก็บน้ำ แล้วระบายสู่ลำธารในช่วงฤดูแล้งได้ดี 

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้. “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant&id=750&view=showone&Itemid=59 (10 มิถุนายน 2560)

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2556. “Musa acuminata Colla spp. siameae Simmonds กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=75895 (10 มิถุนายน 2560)

องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน | สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://hkm.hrdi.or.th/knowledge/detail/196 (10 มิถุนายน 2560)

Flora of China. “Musa acuminata Colla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200028236 (10 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa acuminata Colla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254739 (10 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

มหัศจรรย์แห่งสมุนไพรไทย. 2555. “กล้วยป่า.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiherb-tip108.blogspot.com/2014/12/blog-post_85.html (10 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้