รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03909


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa balbisiana Colla

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

balbisiana

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Musa martini Van Geert

Musa elata Nakai

Musa pruinosa (King ex Baker) Burkill

Musa rosacea Jacq.

ชื่อไทย
กล้วยตานีสุโขทัย
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Tani Sukhothai
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นสูง 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. สีเขียวไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว

ใบ ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียว ไม่มีร่อง ใบสีเขียวเป็นมัน มีความเหนียวมากกว่ากล้วยพันธุ์อื่นๆ

ดอก ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมนด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับบานขึ้นจะตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก

ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีละ 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลสุกสีเหลืองรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง

สภาพนิเวศ
ร่มรำไร,ร่ม
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบความชื้น ดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

-

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชวัสดุ

ใบของกล้วยตานีนั้นจะนิยมนำมาทำงานประดิษฐ์ต่างๆเพราะใบกล้วยตานีนั้นมีใบที่ใหญ่และเหนียวไม่แตกง่าย

ส่วนปลีและหยวกกล้วยนั้น สามารถนำไปปรุงอาหารได้ เช่น นำไปใส่แกงหรือหมกใส่ไก่ได้ หรือจะ กินสดโดยใส่กับผัดไทยก็สามารถทำได้ ผลอ่อนที่เมล็ดยังไม่แข็งมากสามารถนำมาตำทำเป็นตำกล้วยได้

ลำต้น หรือกาบตรงลำต้น สามารถนำมาทำเป็นเชือกใช้ทอผ้าได้

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). 2553. “กล้วยตานี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=1517 (12 มิถุนายน 2560)

Flora of China. “Musa balbisiana Colla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200028237 (12 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa balbisiana Colla.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254762 (12 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

ฐานข้อมูลพืชผัก บทความเกษตร. 2017. “กล้วยตานี พืชบำรุงน้ำนม พร้อมสรรพคุณ 10ข้อ !! ที่คุณไม่ควรพลาด.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.vegetweb.com/กล้วยตานี-พืชบำรุงน้ำนม/ (12 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้