รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03911


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa gracilis Holttum

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

gracilis

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

ไม่มี

ชื่อไทย
กล้วยเสือพราน
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Sue Phran
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ล้มลุกแตกหน่อ สูง 0.5-2 ม. ลำต้นเทียมเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. มีปื้นสีม่วงทั่วไป 

ใบ ใบกว้าง 25-35 ซม. ยาว 90–150 ซม. ก้านใบยาว 30-70 ซม. แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบเป็นร่อง 

ดอก/ปลี ช่อดอกตั้งตรง ยาวได้ถึง 1 ม. มีขนหนาแน่น ใบประดับรูปขอบขนาน สีม่วงอมชมพู ยาวได้ถึง 15 ซม. ดอกเพศเมียเรียงเป็นกระจุก 3-8 แถว แถวละ 2-4 ดอก กลีบรวมที่เชื่อมติดกันแยกจรดโคนด้านหนึ่ง ปลายจักเป็น 5 แฉก ตื้น ๆ

ผล ผลตรงสีน้ำตาลดำ คล้ายลายที่ใบ  ยาวได้ถึง 10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มี 3-4 เหลี่ยม ก้านผลยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนมีขนกระจาย เมล็ดกลมหรือรี แบน ๆ 

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

ขึ้นริมลำธารในป่าดิบชื้น ความสูง 50-300 เมตร 

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

พบที่คาบสมุทรมลายู และภาคใต้ตอนล่างของไทยที่ยะลา และนราธิวาส

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ

ใบ นิยมนำใบมาใช้ห่ออาหาร ใบอ่อน คนไทยเมื่ออดีตจะนำใบอ่อนมาอังไฟพอนิ่มแล้วนำไป ใช้พอกแก้เคล็ดขัดยอก

กาบลำต้น ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย

ก้านใบ จะนำมาตำให้แหลกใช้พอกเพื่อลดอาการบวมของฝี

ผล ในผลมีสารเซอโรโทนินซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ผลดิบมีสารกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารให้หลั่งสารออกมาเคลือบกระเพาะ ในผลสุกอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตถึง 22 % รวมถึงเกลือแร่ เพกติน วิตามินเอ บี และซี มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. “กล้วยม่วง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsLinkno=443&words=กล้วยม่วง&typeword=word (12 มิถุนายน 2560)

Nanagarden. 2012. “กล้วยเสือพราน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.nanagarden.com/product/156987 (12 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa gracilis Holttum.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254827 (12 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

เดลินิวส์. 2560. “กล้วยเสือพราน - เรื่องน่ารู้.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/agriculture/315033 (12 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้