รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03912


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa itinerans Cheesman

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

itinerans

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

Musa itinerans var. itinerans

ชื่อไทย
กล้วยแดง
ชื่อท้องถิ่น
กล้วยหก(เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ
-
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นสูง 2.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 ซม. กาบต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน

ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง และมีประเล็กน้อย ใบสีน้ำตาลอมแดง

ดอก ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างมีสีครีม แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึก

ผล เครือหนึ่งมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 9-13 ผล ผลป้อมปลายทู่ ก้านผลยาว เกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลือง มีเมล็ด

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พบในป่าดิบเขาในหุบเขาลึก ที่ความสูง 1,000-1,300 ม. จากระดับทะเลปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

จีน

การกระจายพันธุ์

จีน อินเดีย ลาว ไทย พม่า เวียดนาม 

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

กล้วยสีแดงอุดมไปด้วย วิตามินและ ใยอาหาร ช่วยลดอาการปวด ป้องกันโรคหัวใจ

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์การมหาชน). 2556. “กล้วยหก, กล้วยแดง.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=987&name=กล้วยหก%2C กล้วยแดง (14 มิถุนายน 2560)

Flora of China. “Musa itinerans Cheesman.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org/florataxon.aspx?flora_id=2&taxon_id=200028240 (14 มิถุนายน 2560)

The Plant List. 2013. “Musa itinerans Cheesman.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-254840 (14 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

Thaihothit. 2017. “กล้วยแดง…อุดมด้วยวิตามินและสารประโยชน์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.thaihothit.com/lifestyle/food/1264 (14 มิถุนายน 2560)

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้