รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03932


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa sp.

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยเทพรสม่วงเจ็ดต้น
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Tep Rot Muang Chet Ton
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 3.5-4.0 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้น มีปื้นดำปานกลาง ตรงโคนมีสีชมพู ด้านในสีเขียวอ่อน

ใบ โคนก้านใบสีเขียวอมชมพู มีร่องแคบ ไม่มีครีบ ก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกสีเขียว ไม่มีขน

ดอก ใบประดับรูปร่างค่อนข้างป้อม ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวลมาก ด้านล่างสีซีด ใบประดับเรียงซ้อนกันลึก ช่อดอกมีแต่ดอกตัวเมียไม่มีดอกตัวผู้จึงไม่เห็นปลี เมื่อติดผล ปลีหลุดหายไป จึงเรียกว่า กล้วยปลีหาย

ผล ขนาดใหญ่กว่ากล้วยทิพรส ยาวได้ถึง 20 ซม. เครือหนึ่ง มี 2-3 หวี ก้านผลยาว

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา

ชอบชื้น ดินเหนียวปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,พืชประดับ

ปลูกเป็นไม้ดับทั่วไป

ผลมีรสฝาดเมื่อทำให้สุกด้วยความร้อน แต่เมื่อสุกงอมจะมี รสหวาน กล้วยดิบนำมาทอดกรอบให้รสชาติอร่อย

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. 2554. “กล้วยเทพรส.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2892 (15 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยเทพรส.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/3585362136573623361836483607361436193626.html (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้