รายละเอียดพรรณไม้ : RPRP-03933


ชื่อวิทยาศาสตร์

Musa sp.

สกุล

Musa L.

สปีชีส์

-

Variety

-

Sub Variety

-

Form
-
ชื่อพ้อง / ชื่อดั้งเดิม

-

ชื่อไทย
กล้วยบัวเฉียงด่านเจดีย์สามองค์
ชื่อท้องถิ่น
-
ชื่อสามัญ
Kluai Bua Chiang Dan Chadee Sam Ong
ชื่อวงศ์
MUSACEAE
ลักษณะวิสัย
ไม้ล้มลุก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 ซม. การแตกหน่อใกล้ต้นแม่ กาบลำต้นเทียมสีเขียวปนเหลือง  มีประดำน้อย มีไขบนลำต้นมาก บริเวณโคนต้นและกาบด้านในไม่มีสีชมพู

ใบ ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 25 ซม. ยาวประมาณ 2 ม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบเป็นมัน ท้องใบมีนวลสีอ่อนกว่าหลังใบ เส้นกลางใบมีสีชมพู บริเวณโคนก้านใบมีปีก ขอบก้านใบตั้งขึ้น

ดอก ก้านช่อดอกเรียบเป็นมันไม่มีขน ช่อดอกหรือปลีชี้ตั้งขึ้น ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีชมพูอมม่วงมีนวลเล็กน้อย สีด้านล่างชมพูอมม่วง ใบประดับม้วนเล็กน้อย ดอกย่อยกลีบรวมสีส้มเข้ม โคนกลีบสีครีม กลีบรวมเดี่ยวบาง ปลายกลีบแต้มสีเหลืองอ่อน บริเวณตรงกลางสีครีมปนสีชมพู มีรอยหยักบริเวณปลายกลีบเล็กน้อย

ผล ขนาดเฉลี่ยกว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 4.0 ซม. ผลมี 5 หวีต่อเครือ 2-3 ผลต่อหวี และ 2 หวีต่อเครือ ถ้าปลูกในอากาศที่เย็นผลมีขนาดใหญ่มาก

สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง,ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา

พื้นที่ลาดเทแต่มีน้ำไหลผ่านหรือมีความชื้น

ถิ่นกำเนิด

ไทย

การกระจายพันธุ์

ไทย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ

ระยะเวลาการติดดอก
-
ระยะเวลาการติดผล
-
ประเภทการใช้ประโยชน์
พืชประดับ

ปลูกประดับสวน

หมายเหตุ

-

แหล่งอ้างอิง

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2555. “กล้วยบัว.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/kloeybua.htm (15 มิถุนายน 2560)

ศูนย์รวบรวมสายพันธุ์กล้วยเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกำแพงเพชร. 2558. “กล้วยบัวสีชมพู.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bananacenterkp.weebly.com/35853621365736233618361036333623362636373594361736143641.html (15 มิถุนายน 2560)

แหล่งอ้างอิงการจำแนก

-

แหล่งอ้างอิงการใช้ประโยชน์

-

สถานะของข้อมูลพรรณไม้
แบบร่าง
รายการรูปภาพ

กลับหน้ารายการพรรณไม้ แก้ไขข้อมูล จัดการรูปภาพ พิมพ์ QR Code ของพืชนี้ ลบข้อมูลพรรณไม้นี้